โครงการนำร่องการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กต่างด้าวไร้สัญชาติ ในพื้นที่เกษตรกรรม อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

Main Article Content

ฉันทนา จันทร์บรรจง
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยนำร่องโดยการสนับสนุนของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กต่างด้าวไร้สัญชาติในพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ระเบียบวิธีวิจัย คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินงานระหว่าง วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ถึง 31 มีนาคม 2554

ผลการวิจัย พบว่า มีเด็กต่างด้าวไร้สัญชาติในพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอพบพระ จำนวนมาก ไม่สามารถใช้ภาษาไทยแม้ว่าจะมีโอกาสน้อยมากที่จะได้กลับประเทศพม่า นักวิจัยได้ร่วมมือกับนักพัฒนาสังคมบางคน ครูอาสา 3 คน และเจ้าของไร่ 2 แห่ง เพื่อจัดการเรียนการสอนภาคค่ำในไร่ หลักสูตรภาษา ไทยเบื้องต้นสำหรับเด็กต่างด้าวไร้สัญชาติ ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เน้นภาษาไทยเบื้องต้นเพื่อการสื่อสาร การรักษาสุขภาพและความสะอาด ความเข้าใจวัฒนธรรมไทยและกฎหมายที่จำเป็นสำหรับคนต่างด้าว มีผู้มาเรียนทั้งสิ้น 41 คน ส่วนน้อยเป็นผู้ใหญ่ ส่วนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ มีความเห็นว่า รูปแบบการจัดการศึกษาซึ่งนำร่องครั้งนี้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับคนต่างด้าวไร้สัญชาติแถบชายแดนไทย-พม่า

คำสำคัญ : การศึกษานอกระบบโรงเรียน,  เด็กต่างด้าวไร้สัญชาติ, พื้นที่เกษตรกรรมแถบชายแดน

 

Abstract

This research was a pilot project supported by the Office of Educational Council, to develop a model of non-formal education for stateless children in agricultural areas in Phop Phra District, Tak Province. The methodology was a Participatory Action Research, conducted during July 1, 2010 to March 31, 2011. The research findings revealed that, in agricultural areas of Pobphra District, there were a large number of stateless children who could not use Thai language although they were unlikely to return to Myanma. The researchers, in cooperation with some social developers, three volunteer teachers, and two farm managers, created model of On-Farm Night School. A Basic Thai Curriculum for Stateless Children was newly created, focused on basic Thai language for communicative purpose, health and hygiene, and basic understanding of Thai culture and Thai laws. There were a total of 41 learners – a few adults, but mostly children under 15 years old. Experts in the community viewed that the On-Farm Night School model was appropriate and responsive to the government policies related to stateless people on Thailand-Myanmar border.

Keywords : non-formal education, stateless children, agricultural areas along the border

Article Details

How to Cite
จันทร์บรรจง ฉ., & ภักดีวงศ์ ภ. (2013). โครงการนำร่องการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กต่างด้าวไร้สัญชาติ ในพื้นที่เกษตรกรรม อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. Journal of Education and Innovation, 13(3), 127–148. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9396
Section
Research Articles