วิถีชีวิตด้านสุขภาพไทยทรงดำจากวันวานสู่ยุคสุขภาพพอเพียง

Main Article Content

รัตนะ บัวสนธ์
จุรีรัตน์ ประวาลลัญฉกร
รพีพร ศรีติมงคล
วันดี ทับทิม
มลฤดี โภคศิริ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพของชาวไทยทรงดำที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้1) เพื่อศึกษาความเชื่อ และวิถีชีวิตด้านสุขภาพของชาวไทยทรงดำ 2) เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อความเชื่อ และวิถีชีวิตด้านสุขภาพของชาวไทยทรงดำ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อ และวิถีชีวิตด้านสุขภาพของชาวไทยทรงดำ ในอดีตและปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) แบบแผนการศึกษา รายกรณี (Case Studies) แหล่งข้อมูลในการวิจัย คือ ชาวไทยทรงดำที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งผู้วิจัยจะให้ความสำคัญโดยอาศัยหลักการเป็นตัวแทนที่ดีของปรากฏการณ์นั้นๆ โดยเป็นบุคคลที่คณะผู้วิจัยไปทำความรู้จัก และการแนะนำแบบเครือข่ายหรือแบบก้อนหิมะ (Network orSnowball selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือผู้วิจัย ซึ่งเป็นผู้ศึกษาปรากฏการณ์ในภาคสนามและใช้เทคนิควิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (ContentAnalysis) และวิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความเชื่อ และวิถีชีวิตด้านสุขภาพของไทยทรงดำในอดีต ความเชื่อของชาวไทยทรงดำในอดีตมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพของตนเองของชาวไทยทรงดำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบความคิดเรื่องการเจ็บป่วย ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี หรือความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ มีอิทธิพลต่อระบบความคิดเรื่องการเจ็บป่วย การวิเคราะห์สาเหตุของการเจ็บป่วยเริ่มจากความเชื่อในการรับรู้ว่าเขามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความรุนแรงของการเกิดโรคกับตนเองว่ามีสาเหตุจากสิ่งที่เหนือธรรมชาติ โดยเชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นส่วนหนึ่งจากการลงโทษของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นการรักษาส่วนใหญ่จึงใช้การรักษาด้วยหมอโบราณ หมอมด หมอมนต์ โดยการพ่นใช้อาคมหรือการใช้ยาสมุนไพร

2. ความเชื่อ และวิถีชีวิตด้านสุขภาพของไทยทรงดำในปัจจุบัน ในปัจจุบันชาวไทยทรงดำมีการดูแลสุขภาพตามพัฒนาการตามช่วงอายุวัยซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ชัดเจน กล่าวคือในการดูแลรักษาสุขภาพนั้นคนในชุมชนส่วนใหญ่ไปใช้บริการที่สถานีอนามัย คลินิก หรือที่โรงพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่กระนั้นกลับพบว่าชาวไทยทรงดำในปัจจุบันมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรังค่อนข้างสูง เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากความสะดวกสบายในการคมนาคมที่เพิ่มมากขึ้น การทำมาค้าขายที่สะดวกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน รถยนต์ขายอาหารสด และอาหารสำเร็จรูปเข้ามาค้าขายในชุมชน ทำให้คนในชุมชนสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าโดยสะดวกสบาย การผลิตที่เกิดจากครัวเรือนก็ค่อยๆลดลงเรื่อยๆ ความเจ็บป่วยจากการบริโภคนิยมจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

3. ความเชื่อ และวิถีชีวิตด้านสุขภาพของชาวไทยทรงดำจากอดีตสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมสังคม พบว่า กระแสความตื่นตัวและการใส่ใจเรื่องสุขภาพค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องสะท้อนจิตสำนึกใหม่ในเรื่องสุขภาพของชาวไทยทรงดำ ความตื่นตัวนี้ด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการตระหนักถึงภัยคุกคามจากโรคร้ายที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถให้คำตอบได้ การใส่ใจเรื่องสุขภาพและการแพทย์ทางเลือกกลายเป็นทางออกจากภาวะบีบคั้นของวิถีชีวิตสมัยใหม่ นอกจากนี้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังได้ทำให้เกิดการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนและหน่วยบริการปฐมภูมิอื่นๆ ที่ทำงานสุขภาพเชิงรุกและให้บริการใกล้บ้านอีกด้วยแนวโน้มการใช้บริการสาธารณสุขมีสัดส่วนการใช้บริการที่สถานีอนามัยหรือหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิมีทีมบริการสุขภาพสหวิชาชีพให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุกเป็นบริการใกล้บ้านใกล้ใจ

คำสำคัญ: ความเชื่อด้านสุขภาพ, วิถีชีวิตด้านสุขภาพ, การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ,การเปลี่ยนแปลงทางสังคม, การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม, ชาวไทยทรงดำ

 

Abstract

The purpose of qualitative research were 1) to study health believe andHealth Care Lifestyle of Thai-Song-Dam 2) to study and analyze the economicchange, social change and cultural change factors that affect on health believe andHealth Care Lifestyle of Thai-Song-Dam, and 3) to compare health believe andHealth Care Lifestyle of Thai-Song-Dam in the past and future. Subjects were Thai-Song-Dam people who lived at the village in Phitsanulok province whichresearchers take an interest by the good representative principle. The instrumentwere researchers who studied the phenomenon in field and used the semistructuredinterview, non-structured interview, In-depth interview ,participantobservation and focus group discussion technique to collected data. Analysis ofdata were content analysis. Major results of this study were as follows :

1. Health believe and Health Care Lifestyle of Thai-Song-Dam in the pastwere depend on belief for no good or logical reason. Their perceive of healthproblem cause were spirits or ghost result in their healthcare life style were dependon the necromancer or shaman who gave them a treatment by necromancy andmedicine.

2. Health believe and Health Care Lifestyle of Thai-Song-Dam in thepresent were different from the past that is most of all the thai-song-dam peopleattend to their healthcare by modern medicine in the sanitarium ,clinic ,and bothpublic and government hospital. Nevertheless, The thai-song-dam people stillhaving non-communicable disease problem such as Diabetic mellitus, Hypertension and Paralysis. In order that the comfortable transportation and comfortable tradeproduce an effect of their health problem from the consumption.

3. Health believe and Health Care Lifestyle of Thai-Song-Dam from thepast toward The Era of economic ,social and cultural changes.

Awakening movement of healthcare seem to be continue increasing thatreflect the new good sense of thai-song-dam health. That awakening were assignto the cognizance of forbidding health from important disease that the modernmedicine could not find the answer. The devotion of alternative medicine becamethe way out form the pressure of modern life style moreover, the universal healthcare policy lead to development of primary health care center more increasingstatewide.

Keywords: Health believe, Health Care Lifestyle, Economic change, Socialchange, Cultural change, Thai-song-dam people

Article Details

How to Cite
บัวสนธ์ ร., ประวาลลัญฉกร จ., ศรีติมงคล ร., ทับทิม ว., & โภคศิริ ม. (2013). วิถีชีวิตด้านสุขภาพไทยทรงดำจากวันวานสู่ยุคสุขภาพพอเพียง. Journal of Education and Innovation, 14(1), 17–28. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9398
Section
Research Articles