HOMESTAY : A CASE STUDY AT BAN HAAD SONG KWAI HOME STAY IN UTTARADIT; PHU NAM NAO IN PHETCHABUN; BAN DON MOON IN NAN AND BAN KHWANG BUK HOMESTAY IN PHRAE

Main Article Content

Bunga Wachirasakmongkol

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานธุรกิจ โฮมสเตย์ ผู้วิจัยได้เลือกโฮมสเตย์ เพื่อเป็นกรณีศึกษาครั้งนี้ โดยพิจารณาจากการได้รับเลือกให้เป็นโฮมสเตย์ มาตรฐานจากสำนักงานพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว( Department of Tourism Business Development) และ คัดเลือกจากที่ตั้ง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง2 แห่ง และในเขตภาคเหนือตอนบน 2 แห่ง

ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาระหว่างมกราคม 2552 - มีนาคม 2552 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเข้าพักในโฮมสเตย์ทั้งสี่แห่ง ใช้วิธีการสังเกตสภาพของโฮมสเตย์ การสัมภาษณ์ผู้ดำเนินการ และใช้แบบสอบถาม ถามผู้ดำเนินการ ผลการศึกษาพบว่า สภาพของโฮมสเตย์ทั้ง 4 แห่งนี้ มีลักษณะ รปแบบการบริหารจัดการ และจุดขายที่ เป็นเอกลักษณ์ของตน กล่าวคือบ้านหาดสองแคว จังหวัดอุตรดิตถ์จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นวัฒนธรรมลาวเวียงจันทร์และธรรมชาติ ภูน้ำหนาวโฮมสเตย์ จังหวัดเพชรบูรณ์จัดเป็นโฮมสเตย์ที่เน้นอากาศที่หนาวเย็น และการเกษตร บ้านแควบุดโฮมสเตย์ จังหวัดแพร่ เป็นแหล่งสมุนไพรธรรมชาติและความเป็นชนบท บ้านดอนมูล จังหวัดน่าน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นวัฒนธรรมของไทยลื้อ มีโฮมสเตย์ 3 แห่งในจำนวน 4 แห่งนี้จัดได้สอดคล้องกับนิยามของ โฮมสเตย์ของสำนักงานพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว คือเจ้าของบ้านพักได้อาศัยอยู่อย่างถาวรในที่พักนั้น ทั้ง 4 แห่ง รายงานว่า ได้รับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนตำบลในเรื่องบริการสาธารณะพื้นฐาน สมาชิกของโฮมสเตย์ แต่ละแห่งมีรูปแบบการรวมกลุ่มที่ต่างกัน เช่นบางแห่งจัดเป็นกลุ่มปิด และบางแห่งเปิดโอกาสให้ทุกบ้านมาร่วมบริการ และบางแห่งจัดในรูปคณะกรรมการ แต่บางแห่งก็เพียงมีการรวมตัวกันชั่วคราว ทุกแห่งต่างเห็นว่ารายได้จากโฮมสเตย์เป็นเพียงรายได้เสริมเท่านั้น มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเฉพาะช่วง ตุลาคม-มีนาคม การประชาสัมพันธ์ จึงอาศัยเพียงเวปไซด์ของ ทางการ เท่านั้น ส่วนปัญหาของการจัดการโฮมสเตย์ ทุกแห่งรายงานว่าไม่มีปัญหา อาจมีเพียง ผู้มาพักบางรายไม่เข้าใจคำว่า โฮมสเตย์ จึงมักคาดหวัง ที่จะได้รับความสะดวกสบายเหมือนกับที่บ้านของตน และอีกปัญหาหนึ่งคือการสื่อสารกับชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตาม พบว่าชาวต่างชาติที่ต้องการศึกษาอย่างลุ่มลึก มักจะมีเพื่อนคนไทยมาด้วย

 

Abstract

The purpose of this study was to examine, as case studies, the conditions and problem of four homestay business which have been certified by the Department of Tourism Business Development as having met the homestay standards, two of which are located in the upper North, and the other two are in the lower North.

The data were collected by observation through site visits, by interview of homestay operators, and by questionnaire. The findings revealed each homestay had its own unique characteristics both in its form of management and its selling point. Ban Haad Song Kwai in Uttaradit had as its selling point the ethnic Lao Wiang Chan culture and natural beauty; Phu Nam Nao homestay in Phetchaboon, agrotourism and climate; Ban Khuang Buk in Phrae, rural tourism and medicinal herb garden; Ban Don Moon in Nan, its Tai Lue culture.

It was also found that three of the four homestay establishments in this study fitted the definition of homestay in which visitors stay in the home of the host located in a village or community. The other homestay was a coffee field with two visitor accommodation structures. The operator lived in a village which was 10 kilometers away. All four homestays report that they were supported by the Tambon Administration Authority in providing the infrastructure facilities. The four homestays were also found to have been managed differently. In some homestays, membership was closed and limited while others membership was open to all members in the community to participate in the operation. Some homestays were managed by a standig committee; some are loosely run by an ad hoc committee, especially when a cultural show was to be staged for a large number of visitors to the community. All homestay operators considered the income from the homestay business as supplementary as they already had their main income from other sources, and the homestay season lasted only 5 months-- from October to March. Because of this, they depended only on the TAT and the provincial websites to advertise and promote their homestay businesses. In terms of management, there were no problems. The only major problem encountered operators in all four homestays was with the visitors not understanding the homestay concept. They expected to enjoy all the conveniences they had at home. Another minor problem was the communication with foreign visitors. However, the number of foreign visitors was negligible and if they wanted to have an in-depth understanding of the community, they always brought Thai friends with them.

Article Details

How to Cite
Wachirasakmongkol, B. (2013). HOMESTAY : A CASE STUDY AT BAN HAAD SONG KWAI HOME STAY IN UTTARADIT; PHU NAM NAO IN PHETCHABUN; BAN DON MOON IN NAN AND BAN KHWANG BUK HOMESTAY IN PHRAE. Journal of Education and Innovation, 13(3), 149–172. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9399
Section
Research Articles