การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ 4 ขั้นตอนของสเติร์นเบริกและแนวคิดฮิวริสติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นพเรศวร์ ธรรมศรัณยกุล
พิมพันธ์ เดชะคุปต์
ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ 4 ขั้นตอนของสเติร์นเบริกและแนวคิดฮิวริสติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญและประเมินประสิทธิภาพจากการนำกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ 4 ขั้นตอนของสเติร์นเบริกและแนวคิดฮิวริสติกส์เพื่อเสริมสร้างความ สามารถในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไปทดลองใช้กับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องรวมถึงการศึกษาสภาพปัญหาทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านในเวียง ซึ่งยังไม่สามารถให้เหตุผลและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างกระบวนการเรียนการสอนแล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านในเวียง จังหวัดแพร่ จำนวน 2 ห้องเรียนห้องเรียนละ 18 คนระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ T-TEST ได้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัญหาจริง 2) การวิเคราะห์กระบวนการแก้ปัญหา 3) การแก้ปัญหาและมองย้อนกลับ 4) การประยุกต์ใช้ขั้นตอนกับปัญหาใหม่

ผลการวิจัย

1) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดโดยกรมวิชาการ คือ สูงกว่าร้อยละ60 ของคะแนนทดสอบทั้งฉบับ

2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดโดยกรมวิชาการ คือ สูงกว่าร้อยละ60 ของคะแนนทดสอบทั้งฉบับ

3) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

 

Abstract

This research paper was aimed to explore the development research on account of theobjective toward 1) develop learning and instruction development procedure by means ofSternberg’s four steps model and Heuristic concept so long as empower the logical reasonablecompetencies and mathematical resolution from 6 grade students 2) to evaluate the efficiency oflearning and instruction by expert in which was included of appraisal of learning and instructionprocedure technique efficiency from experimental. The researcher analyzes and synthesizes mainideas of Sternberg’s four step model and Heuristics’ concept model about teaching and learning.These theories and concept are used for development of an instructional process and learningtactics by means of students’ problem resolution mathematics and learning the students of Ban NaiWieng school that could not into problem resolution and reasoning paradigm both skillcompetencies. The sampling group that was 6 grade students into Ban Nai Wieng school, Phraeprovince at approximately 2 classrooms. It was divided into classroom of 18 students total at 36students that was experimental group and controlling group of learning. The applicable process isfinally adjusted to 4 steps 1) the interaction with authentically contingency situation resolution 2)process problem analysis resolution 3) feedback reflection resolution 4) application andimplementation of processing and renewal resolution. Moreover, the research device was used fromexperimental operation in direction with mathematical logical reasoning of capability application formand mathematical resolution capability evaluation application form of mathematical means ofinformation analysis implementation form, standard of deviation: S.D., T-Test of statistical figure.

Research result:

1. Students had studied with learning procedure throughout of Sternberg’s four steps modeland Heuristics concept. It was found that reasonable capability from mathematics resolution higherstandard at least rate ratio throughout educational academy department. It was such a higher than60% of experimental scoring of all paper publication.

2. Students had studied with learning procedure throughout of Sternberg’s four steps modeland Heuristics concept. It was found that mathematics solving paradigm from mathematics resolutionhigher standard at least rate ratio throughout educational academy department. It was such a higherthan 60% of experimental scoring of all paper publication.

3. Students had ever learned with learning and teaching process throughout of Sternberg’sfour steps model and Heuristics concept. It was found that reasonable capability from mathematicsresolution including mathematics solving paradigm. Later, post test conduct was higher thanexperimental group of pretest experiment operation at the statistical significant level at .05 figures.

4. Students had also studied with learning procedure by means of Sternberg’s four stepsmodel and Heuristic concept in which was a capability on account of reasonable logic potential andmathematics resolution having been higher than ordinary studying group at the statistical significantlevel at .05 figures.

Keywords: INSTRUCTIONAL PROCESS, STERNBERG’S FOUR STEP MODEL, HEURISTICSCONCEPT, MATHEMATICAL REASONING, MATHEMATICAL PROBLEM-SOLVING

Article Details

How to Cite
ธรรมศรัณยกุล น., เดชะคุปต์ พ., & คล้ายมงคล ย. (2013). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ 4 ขั้นตอนของสเติร์นเบริกและแนวคิดฮิวริสติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Education and Innovation, 14(1), 49–61. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9408
Section
Research Articles