การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา

Main Article Content

ธันยรัตน์ พลเยี่ยม
ศรัณย์ ภิบาลชนม์
กิตติมา พันธ์พฤกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี จำนวน 41 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
พลเยี่ยม ธ. ., ภิบาลชนม์ ศ. ., & พันธ์พฤกษา ก. . (2019). การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา. Journal of Education and Innovation, 22(1), 84–95. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/94664
บท
บทความวิจัย

References

Chuenchob, O. (2006). Development of physics achievement and physics problem solving skill of Matthayomsuksa IV students using inquiry method of teaching enhanced by polya’s problem solving technique (Master thesis). Chonburi: Burapha University. [in Thai]

Dechakhup, P. (2002). Science teaching behavior. Bangkok: Institute of Academic Development. [in Thai]

Dramae, A. (2015). Effects of inquiry-based approach and polya’s problem solving on physics achievement and problem solving ability of grade 12 students (Master thesis). Songkla: Prince of Songkla University. [in Thai]

Khochongdi, P. Teacher at Saensuk School. (2016, February 15). Interview. [in Thai]

Limtasiri, O. (2013). Curriculum and instruction in elementary school (6th ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. [in Thai]

Maensanguan, S. (2013). Mathematics teaching behavior 2 (2nd ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. [in Thai]

Makhanong, A. (2010). Skills and mathematical processes. Bangkok: Chulalongkorn Printing. [in Thai]

Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum (A.D.2008). Bangkok: The Agricultural

Co-operative Federation of Thailand Printing. [in Thai]

Moonkham, S., & Moonkham, O. (2003). 21 Learning management for development thinking process

(4th ed.). Bangkok: Parbpim Printing. [in Thai]

Naoyenphon, P. (1995). Mathematical problem solving: the development of computation skill of elementary school students. Bangkok: Chulalongkorn Printing. [in Thai]

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2016). The Result of the Ordinary National Educational Testing (O-NET) of academic year 2016. Retrieved May 14, 2016, from https://www.niets.or.th/ [in Thai]

Polya, G. (1957). How to solve it (2nd ed.). New York: Doubleday & Company.

Ruangsomsamai, S. (2013). The effect implementing learning management by inquiry cycle (5E’s) on

the science problem solving ability and science learning achievement of Matthayomsuksa I students Wat Songtham School Samutprakarn Province (Master thesis). Bangkok: Dhonburi Rajabhat University. [in Thai]

Seenama, P. (2014). the development of learning activity package by using polya solving problem process on linear programming for Mathayomsuksa VI students (Master thesis). PhitsanuloK: Naresuan University. [in Thai]

Sintunawa, P., Nualpang, K., & Angganapattarakajorn, V. (2016). The effects of student team achievement divisions learning activity and polya problem solving process on mathematics problems solving ability of Pratomsuksa 5 students. Journal of Education Naresuan University, 18(4), 238-250. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2008). The mathematical skills. Bangkok: Charoen Printing. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2010). Teacher’s manual. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. [in Thai]

Thipkhong, S. (2001). Problem solving. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. [in Thai]

Worakham, P. (2016). Educational research (8th ed.). Maha Sarakham: Takkasila Printing. [in Thai]