นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกับคุณลักษณะทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระสมพงษ์ ณฏฺฐิโก (เฒ่าเง้า)

บทคัดย่อ

การพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายนั้นไว้ คือ การปฏิบัติงานแบบมืออาชีพหากขาดความสามารถในการทำงานไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีผู้มีความรู้สูงหรือมีทรัพยากรมากเพียงใดก็ยากที่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ ครูเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสติปัญญาของเยาวชนเป็นบุคคลที่มีความหมายอย่างมากต่อกระบวนการให้การศึกษา คือ ครูจะต้องสนใจเอาใจใส่ต่อปัญหาของนักเรียน ตอบปัญหาให้กระจ่าง รู้จักระงับอารมณ์ การอดทนวางตัวให้เหมาะสม มีการสื่อสารที่ดีกับนักเรียน มีความเป็นกลางและเข้าใจในการตัดสินใจ เพราะว่านักเรียนแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ต่อมาก็คือนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต้องเป็นผู้ที่มีการปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทันโลกทันเหตุการณ์ ทันสมัย เนื่องจากนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิต นักศึกษาประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเข้าใจคุณลักษณะของครูที่ดี ตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา ได้แก่ คุณลักษณะของครูทางพระพุทธศาสนา 7 ประการ ประกอบด้วยคุณสมบัติ 7 ประการ คือ 1) ปิโย ย (น่ารัก) 2) ครุ (น่าเคารพ) 3) ภาวนีโย (เป็นผู้มีความรู้) 4) วตฺตาจ (มีระเบียบแบบแผน) 5) วจนกฺขโม (อดทนต่อถ้อยคำ) 6) คมฺภีรญฺจกถํกตฺตา (แถลงเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง) 7) โนจฏฺฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักนำไปในทางเสื่อม)และการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ได้ความชัดเจนและตรงกับเนื้อหาในบทความ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ทวีป อภิสิทธิ์. (2556). สอนเป็น สอนดี สอนเก่ง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ วงษ์พันธ์. (2551). “การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และวิธีจัดการความขัดแย้งกับความสามรถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาขั้นปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรังกูร วรบำรุงกุล. (2560). กฎหมายการศึกษา, จันทบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 36). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

............... (2552). พจนานุกรมพุทธศาสน์. พิมพ์ครั้งที่ 13 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผาลีธรรม.

............... (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล, และธันวดี ดอนวิเศษ. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สู่ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 10(4), 137-147.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

.............. . (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การบริหารจัดการในห้องเรียน. กรุงเทพมหานคร: ทริปเบิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). เสริมพลังบทบาทครูโลกที่เปลี่ยนแปลงในมุมมองของเอเชียแปซิฟิก. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Tripitaka: Thai Version. Bangkok: MCU Press.

Tangtongmadan S. (2008). Buddhist Ethics. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press. [in Thai]