การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สะเต็มศึกษาโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

นฤมล ภูสิงห์
สุรินทร์ ภูสิงห์
ดุษฎีพร หิรัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 3) ประเมินรูปแบบ วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น  3 ระยะตามวัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 25 คน ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอน 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 3) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 5) แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า


  1. รูปแบบการสอนที่สร้างชึ้น มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 3.1) สร้างห้องเรียนออนไลน์ 3.2) พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 3.3) จัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 3.4) ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 4) การประเมินรูปแบบ 5) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้และ 6) ระบบสนับสนุน

  2. นักศึกษาวิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.39) มีพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.36) และมีคุณลักษณะ ความเป็นครูโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.53)

  3. รูปแบบการสอนมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ        โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ทับโต. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7E เพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). การคิดเชิงวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วีพริ้นท์ 1991. จำกัด.

ชวลิต ชูกาแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2553). ศาสตร์การสอน องคความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์.

ภัทรีญาพรรณ พลที. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีจัดการเรียนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังมโนทัศน์ เรื่อง น้ำ ฟ้าและดวงดาว เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศศิวัฒน์ เดชะ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และการคิดวิเคราะห์ในวิชาชีววิทยา เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยเน้นระดับ การสืบเสาะ. สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา. คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวพร ศรีจรัญ. (2559).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง ที่มีผลต่อการคิดอย่างมีเหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์หลักสูตร

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา. คณะวิทยาศาตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัฐวจี ปิ่นแก้ว. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน เรื่อง ชีวิตสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (การค้นคว้าอิสระ). หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อารฝัน บากา. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับการวิเคราะห์. (วิทยานิพนธ์นี้หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา. คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Ausubel. D.P. (2008). Encyclopedia of the Sciences of Learning. A cognitive view. Boston. MA : Kluwer

Bloom. B.S. (1956). Taxonomy of Education Objective Hand book 1 : Cognitive Domain. New York: David Mac Kay Company. Inc.

Bloom. B.S.. Dabid. R.K. & Bertram. B.M. (1976). Taxonomy of education objective. London : David Mckay.

Brown. G. (1975). Microteaching: A Program Skill. London : Butler and Tanner.

Eisenkraft. A. (2003). Expanding the 5Es model: A proposed 7E emphasizes Transferring of Learning and the importance of eliciting prior understanding. The Science Teachers.