แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายแบบบูรณาการศีขรภูมิ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1

Main Article Content

ศิริวัฒน์ สุนทรงามทวีเลิศ
สาริศา เจนเขว้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถาน ศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือครู 148 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มตัวอย่าง สุ่มแบบมีขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางการเรียนการสอน 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่ลักษณะโรงเรียนที่เปิดสอนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายแบบบูรณาการศีขรภูมิ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ได้แก่ ผู้บริหารต้องมีการวางแผน วิเคราะห์ปัญหาโดยศึกษาบริบทโดยรอบของสถานศึกษา ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีกระบวนการนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ บุญโพธิ์. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์กรบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2561.

กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, 2565.

จันทนา นนทิกร. ระบบเรียนรู้: การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้, 2552.

จำเริญ จิตรหลัง. กลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2562.

ฉัตรชัย จันทา. การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2563.

ทัศนา วรรณประภา. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสอยดาวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. (งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา , 2560.

ธนิต รัตนรักษา. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, 2565.

นิตนิภา เสนาฤทธิ์. ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายเกาะช้างสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (งานนิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

บาลกีส กาซา. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอกรงปินัง สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , 2560.

พัชราภรณ์ จันทพล. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.

อับดุลรอห์มัน มะมิง. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนคุณภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2564.

Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. ducational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.