การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการอาชีพแก้งคร้อ สำนักงานการอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 56 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 แผนกการบัญชี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 26 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ ( / ) เท่ากับ 80.87/80.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; ทักษะการคิดวิเคราะห์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2541). การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ ประสานมิตร.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2544 คู่มือพัฒนาสู่การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสารการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสารการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับบปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
เขมวันต์ กระดังงา. (2555). ผลการเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมกับเว็บสนับสนุนการเรียนที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม วิชาการพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.
พงษ์กรณ์ วีรพิพรรธน์. (2554). ผลการใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนี ทาเหล็ก. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องเส้นขนานที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. สารนิพนธ์ ปริญญา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วชัรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิคการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วชัรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและธุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วชัรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด.(พิมพ์ครั้งที่5). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วชัรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่7). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สายไหม โพธิ์ศิริ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยใช้ชุดการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 3 ประชายินดี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาสภาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิกจำกัด.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. วิธีการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวมิล เขียวแก้ว. (2540). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยม. ปัตตานี: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
Aronson. E. (2000). Jigsaw classroom: Overview of the technique. Jigsaw Official Site.
Borich. G. D. (2004). Effective Teaching Methods. 5th Edtion.
Johnson. D. W. & Johnson. R. T. (1990). Cooperative Learning: Theory. Research. and Practice. New Jersey: Prentice Hall.
Joyce. B., & Weil. M. (1986). Models of teaching. Engle-wood Cliffs. New Jersey.
Kemmis. S., & McTaggart. R. (1988). The Action Research Planner. Victoria: DeakinUniversity.
Lin. E. (2006). Cooperative learning in the science classroom.The Science Teacher. 34.
Lingard. R. W. (2010). Teaching and assessing teamwork skills in engineering and computer science. Journal of Systemics. Cybernetics and Informatics. 18(1). 34-37.
Mackall. D. D. (2004). Teamwork skill. New York: Fact on file.
McInerney. M. J., & Fink. L. D. (2003). Team-based learning enhances long-term retention and critical thinking in an undergraduate microbial physiology course. Microbiology Education. 4. 3.
Ninomiya. N., & Pusri. P. (2015). The study of open-ended approach in mathematics teaching using jigsaw method. Bulletin of Saitama University Faculty of Education. 64. 11-22.