ปัจจัยการยอมรับการใช้งานแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการบริหารจัดการปัญหาเมือง ของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1 การยอมรับการใช้งานแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงเทพตะวันออก 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการปัญหาเมืองของเจ้าหน้าที่กรุงเทพกลุ่มกรุงเทพตะวันออก 3. เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับการใช้งานแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการบริหารจัดการปัญหาเมืองของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงเทพตะวันออก .4 เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการยอมรับการใช้งานแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงเทพตะวันออก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้แพลตฟอร์ม Traffy Fondue ในสำนักงานเขตพื้นที่กลุ่มกรุงเทพตะวันออก จำนวน 125 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ การวิเคราะห์การถอยพหุคูณเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับการใช้งานแอพพลิเคชั่น Traffy Fondue ของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารจัดการปัญหาเมืองของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงเทพตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ ปัจจัยการยอมรับการใช้งานแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการบริหารจัดการปัญหาเมืองของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงเทพตะวันออกเป็นไปในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ ปัจจัยด้านความตั้งใจที่จะใช้ การรับรู้ว่ามีประโยชน์ และการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งาน ปัญหาและอุปสรรคการยอมรับการใช้งานแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ได้แก่ การใช้งานที่ขึ้นอยู่กับระบบอินเตอร์เน็ต ข้อมูลที่ได้รับอาจมีความคลาดเคลื่อนยากต่อการประสานงานในหน่วยที่รับผิดชอบ ระบบสืบค้นข้อมูลย้อนหลังทำได้ยากและแอพพลิเคชั่นต้องมีการอัพเดทตลอดเวลา และการรับข้อมูลการร้องเรียนตลอด 24 ชั่วโมงทำให้เจ้าหน้าที่ขาดความเป็นส่วนตัวการสื่อสารเป็นแบบทางเดียวจากผู้ร้องเรียนโดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถสอบถามข้อมูลย้อนกลับได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชุมนุมพร มงคล. (2560). การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์เพื่อสนองต่อความต้องการด้านการทำงานของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานราชการ. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ประภาพรรณ กัสโป. (2560). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีต่อการใช้บริการ ธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วนิดา ตะนุรักษ์. (2560). “อิทธิพลของทัศนคติต่อการใช้งานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีของพนักงานอุตสาหกรรมการค้าส่งและปลีกไทย”. วารสารสมาคม นักวิจัย 22 (1) : 41-53.
วสุธิดา นุริตมนต์. (2562). “อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่”. วารสารสหวิทยาการวิจัย 8 (ฉบับพิเศษ) : 189 – 199.
วิสุทธิณี ธานีรัตน์และคณะ. (2565). “ความสามารถทางเทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่มข้าราชการและพนักงานของรัฐที่สังกัดหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดตรัง”. วารสารการบริหารการปกครอง 11(2) : 55-74.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). [ออนไลน์]. (2566). “Traffy Fondue” (ทราฟฟี่ ฟองดู) ตัวช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง. แหล่งที่มา. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2566.
Bloom, Benjamin S. 1976. Human Characteristics and School Leaning. New York : McGraw–Hill Book Company
Davis, F. (1989). A Technology Acceptance Model for Empirically Testing new end User Information Systems: Theory and Results. Doctoral Dissertation, MIT Sloan School of Management Cambridge MA.