สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan (1970) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นในการสุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 330 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน และครูผู้สอน จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
- สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนความเสมอภาคและการเป็นพลเมืองโดยใช้เทคโนโลยี รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อความเป็นมืออาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกแบบเชิงระบบด้านเทคโนโลยี
- เปรียบเทียบสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา มีดังนี้ ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครู และนักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง มีการวางแผนกลยุทธ์ และกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ผู้บริหารควรเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุน วางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นระบบและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ, อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ และพงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 60-62. สืบค้นจาก https://so05.tci-
thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/251332
เทิดศักดิ์ วิไลเกษม, อธิป เกตุสิริ และ ชวนคิด มะเสนะ. (2566). การศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 137-152. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/266794
พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์ และ ชัชภูมิ สีชมภู. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(9), 70-84. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249839
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารการศึกษา. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(1), บทบรรณาธิการ. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index. php/emi/issue/view/10421/emi_v1n1
รชต กฤตธรรมวรรณ และคณะ. (2563). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาวิถีใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 779-788. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/ article/view/245007
สตรีรัตน์ ตั้งมีลาภ. (2554). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. (2563). สรุปผลการสังเคราะห์รายงานการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษา ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) เพื่อเตรียมการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21: ผลการศึกษาและแนวทางการส่งเสริม. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
International Society for Technology in Education (ISTE). (2009). National educational technology standard for administrators. International Society for Technology Education. Retrieved from https://iste.org/standards
International Society for Technology in Education (ISTE). (2018). ISTE standards: Education leaders. Retrieved from https://www.iste.org/standards/iste-standards-for-education-leaders
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10. 1177/001316447003000308
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American Psychologist, 28(1), 1–14. https://doi.org/10.1037/h0034092