การศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

Main Article Content

เทิดศักดิ์ วิไลเกษม
อธิป เกตุสิริ
ชวนคิด มะเสนะ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 351 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ โดยค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ พบว่าตัวแปรตำแห่นงภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล ควรมีนโยบาย 2.ด้านภาวะผู้นำดิจิทัล ควรส่งเสริมให้ครูทำงานเป็นทีม โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ 3.ด้านความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล ควรส่งเสริมสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม เพื่อเข้าถึงทักษะความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล 4. ด้านทักษะความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล ควรมีการควบคุม กำกับ ดูแล และอำนวยการ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาขีดความสามารถและประเมินผลการปฏิบัติงาน 5.ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ควรกำหนดนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนงานบูรณาการภายใต้เครือข่ายดิจิตอลของสถานศึกษาและระบบการกำกับดูแลบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2565). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงาน. (2565). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตาม (ว6/2561). https://www. ocsc.go.th/digital_skills2

เจษฎา สนสุภาพ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้น าดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 พฤศจิกายน 2564. (น. 153). วิทยาลัยนครราชสีมา.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2558). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

_____________. (2559). ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 1(1), 304-306.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. วิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 7(2), 14-29.

ทินกร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา The Status of Digital Leadership of Education Management Administrators. ครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 13(2), 285-294.

นายกรัฐมนตรี, สำนัก. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560–2564). http://www.bic.moe.go.th/images/ stories/article12.pdf

ภูเบศ นิราศภัย และคณะ. (2563). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. งานประชุมวิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 9-10 กรกฎาคม 2563, น. 2934.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2562). แผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากร สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2562–2565: หน้า 1. กรุงเทพฯ: สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สมควร ไกรพน. (2546). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม สามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สมศักดิ์ คงเทศ. (2553). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของครูในสถานศึกษา ตำบลบางนายสี อำเภอเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงาม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สมาน อัศวภูมิ. (2549). การบริหารงานในสถานศึกษาอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. การบริหารการศึกษาและภาวะ ผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(35), 36.

เสาวนีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรยุคดิจิทัล กรณีศึกษา: องค์กรไอทีและ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสาวนีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรยุคดิจิทัล กรณีศึกษา: องค์กรไอทีและองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อังคณารักษ์ บุตรสุวรรณ์. (2558). สภาพ ปัญหา และผลสำเร็จของการจัดการความรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2562). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. http://www.trueplookpanya. com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607- 610.