ความหมายของคำว่า ‘ได้’ ในภาษาลาว : การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การมีคำหลายความหมายเป็นปรากฏการณ์ปกติในภาษาธรรมชาติ คำว่า ໄດ້ ในภาษาลาวเป็นอีกคำหนึ่งที่เป็นคำหลายความหมาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกความหมายของคำว่า ໄດ້ ในภาษาลาว และศึกษากระบวนการปริชานที่ทำให้มีการขยายความหมายต้นแบบของคำว่า ໄດ້ ออกเป็นความหมายประจำคำ และความหมายทางไวยากรณ์ โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีทางอรรถศาสตร์ปริชาน ข้อมูลที่นำมาศึกษาเป็นข้อความสั้นที่มีคำว่า ໄດ້ ปรากฏอยู่ โดยได้จาก พจนานุกรมลาว-ลาว แบบเรียนภาษาลาว และคลังคำภาษาลาว ผลการศึกษาพบว่า ความหมายของคำว่า ໄດ້ มี 9 ความหมาย จัดเป็นความหมายประจำคำ 2 ความหมาย ได้แก่ ‘ได้มาครอบครอง’ และ ‘ได้โอกาสกระทำ’ จัดเป็นความหมายทางไวยากรณ์ 7 ความหมาย ได้แก่ ‘ได้ทำแล้ว’ ‘ก่อผล’ ‘สัมฤทธิผล’ ‘สามารถ’ ‘สามารถตามบริบท’ ‘อนุญาตให้ทำ’ และ ‘เป็นไปได้’ กระบวนการปริชานที่เกี่ยวข้องกับการขยายความหมายมีทั้งหมด 3 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการอุปลักษณ์ กระบวนการนามนัย และการกลายเป็นอัตวิสัย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ลงในวารสารมนุษย์กับสังคม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมนุษย์กับสังคม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมนุษย์กับสังคมก่อน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2505). วัจนานุกรมภาษาลาวของกระทรวงศึกษาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการ.
จิรัชย์ หิรัญรัศ. (2550). การศึกษาความหมายของคำว่า ‘เอา’ ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทองคำ อ่อนมะนีสอน. (2008). วัจนานุกรมภาษาลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. เวียงจันทน์: หอสมุดแห่งชาติ.
นันทนา วงษ์ไทย. (2562). อรรถศาสตร์ปริชานเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บริษัทเวิร์คออลพริ้นท์จำกัด.
ราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2011). แบบเรียนภาษาลาวชั้นประถมปีที่ 3. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.
สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2013). แบบเรียนภาษาลาวชั้นประถมปีที่ 2. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.
สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2015). แบบเรียนภาษาลาวชั้นประถมปีที่ 1. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.
สิลา วีระวงส์, มหา. (2006). วัจนานุกรมภาษาลาว. ฉบับปรับปรุงใหม่. เวียงจันทน์: มูลนิธิโตโยตา.
โสรัจ เรืองมณี. (2553). ความหมายของคำว่า được ‘ได้’ ในภาษาเวียดนาม : การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Enfield, N.J. (2004). Areal Grammaticalization of Postverbal ‘Acquire’ in Mainland Southeast Asia. In Papers from the Eleventh Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistic Society, 2001. Edited by Somsong Burusphat. Tempe:Arizona State University.
Riemer, N. (2005). The Semantic of Polysemy: Reading Meaning in English and Warlpiri. Berlin: Mouton de Gruyter.
Saeed, I. John. (2000). Semantics. Beijing: Blackwell Publishers Ltd.
Traugott E. Closs. (1989). On the rise of epistemic meanings in English: an example of subjectification in semantic change. Language 65:31-55.
Tylers, A. & C. Evans. (2003). The Semantic of English Preposition: Spatial scenes, Embodied Meaning and Cognition. Cambridge : Cambridge University Press. www.sealang.net/lao/corpus.htm (Retrieved on January 12, 2020).
การสัมภาษณ์
สมพาวัน แก้วบุดดา. (16 มกราคม 2563). สัมภาษณ์. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.
สมเพ็ด แสงจัน. (16 มกราคม 2563). สัมภาษณ์. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.