รูปแบบและประเด็นการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่พึงประสงค์ในอนาคตเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนทั้งสิ้น 603 คน โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมใช้สถิติการวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยวิธี Enter
ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรองค์ประกอบการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านผู้ส่งสาร ด้านเนื้อหาสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร และด้านผู้รับสาร สามารถร่วมกันพยากรณ์รูปแบบการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่พึงประสงค์ในอนาคตได้ร้อยละ 36
(R2 =0.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และตัวแปรองค์ประกอบของประเด็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านการพัฒนานิสิต และด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สามารถร่วมกันพยากรณ์ประเด็นการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่พึงประสงค์ในอนาคตได้ร้อยละ 43 (R2 =0.43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ลงในวารสารมนุษย์กับสังคม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมนุษย์กับสังคม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมนุษย์กับสังคมก่อน
References
กิติยา ปรัตถจริยา และ ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2552). การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจบุหรี่. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18716
จิดาภา ล้อมพิทักษ์ และ ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2564). การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80972
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2561). การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม: ทางเลือกหนึ่งในการรับใช้สังคมของมหาวิทยาลัย. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 5(1), 1-32.
ดรุณศักดิ์ ตนิยะลาภะ. (2560). อุดมศึกษาสาขาวิชาที่ถูกลืม: มหาวิทยาลัยไทยบนเส้นทางแห่งการปรับตัวและการแปลงเปลี่ยนสู่ยุค “หลังโลกาภิวัตน์” กับการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณค่า. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิชญ์ณัฐ เนื่องจำนงค์ และ ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2560). การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60038
พรธิดา วิเศษศิลปานนท์. (2562). การขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยที่มีผลต่อนักศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(3). 572-590.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 18). ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธิติพัทธ์ ลิ้มสัมฤทธิ์นิภา และจันทิมา เขียวแก้ว. (2562). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์วิทยานิพนธ์. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วศินี นพคุณ และ พัชนี เชยจรรยา. (2551). กลยุทธ์การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31820
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2562). “พันธกิจสัมพันธ์ตามศาสตร์พระราชา เพื่อสร้างคุณค่าและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ The 6th Engagement Thailand Annual Conference 2019. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์. ประเทศไทย
Ali, M., Mustapha, I., Osman, S., & Hassan, U. (2021). University social responsibility: A review of conceptual evolution and its thematic analysis. Journal of Cleaner Production, 286, 124931. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2020.124931
Asemah, E., Okpanachi, R., & Olumuji, E. (2013). Universities and Corporate Social Responsibility Performance: An Implosion of the Reality. African Research Review, 7(4), 195-224. https://doi.org/10.4314/afrrev.v7i4.12
Bernardo, M. A. C., Butcher, J., & Howard, P. (2012). An international comparison of community engagement in higher education. International Journal of Educational Development, 32(1), 187–192. https://doi.org/10.1016/j.ijedudev.2011.04.008
Benitez, J., Ruiz, L., Castillo, A., & Llorens, J. (2020). How corporate social responsibility activities influence employer reputation: The role of social media capability. Decision Support Systems, 129, 113223. https://doi.org/10.1016/j.dss.2019.113223
Carroll, A. B. (2016). Carroll’s pyramid of CSR: taking another look. International Journal of Corporate Social Responsibility, 1(1). https://doi.org/10.1186/s40991-016-0004-6
Christine I. C. (2011). The effect of participation in experiential learning programs on personal and civic attitudes. Doctor of Philosophy: Program in Clinical Psychology.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons. Inc.
Grover, P., Kar, A. K., & Ilavarasan, P. V. (2019). Impact of corporate social responsibility on reputation—Insights from tweets on sustainable development goals by CEOs. International Journal of Information Management, 48, 39–52. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2019.01.009
Khamis, N. I., & Wan Ismail, W. K. (2022). The impact of corporate social responsibility on corporate image in the construction industry: a case of SMEs in Egypt. Journal of Sustainable Finance & Investment, 12(1), 128-146. https://doi.org/10.1080/20430795.2021.1930992
Kouatli, I. (2019). The contemporary definition of university social responsibility with quantifiable sustainability. Social Responsibility Journal, 15(7), 888–909. https://doi.org/10.1108/srj-10-2017-0210
Leko Šimić, M., Sharma, E., & Kadlec, E. (2022). Students’ Perceptions and Attitudes toward University Social Responsibility: Comparison between India and Croatia. Sustainability, 14(21), 13763. https://doi.org/10.3390/su142113763
Meseguer-Sánchez, V., Abad-Segura, E., Belmonte-Ureña, L. J., & Molina-Moreno, V. (2020). Examining the Research Evolution on the Socio-Economic and Environmental Dimensions on University Social Responsibility. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(13), 4729. https://doi.org/10.3390/ijerph17134729
Santos-Jaén, J. M., Madrid-Guijarro, A., & García-Pérez-de-Lema, D. (2021). The impact of corporate social responsibility on innovation in small and medium-sized enterprise: The mediating role of debt terms and human capital. Corporate Social Responsibility and Environmental Management, 28(4), 1200–1215. https://doi.org/10.1002/csr.2125
Sousa, J. C. R. D., Siqueira, E. S., Binotto, E., & Nobre, L. H. N. (2020). University social responsibility: perceptions and advances. Social Responsibility Journal, 17(2), 263–281. https://doi.org/10.1108/srj-10-2017-0199
Wang, R., & Chan-Olmsted, S. (2020). Content marketing strategy of branded YouTube channels. Journal of Media Business Studies, 17(3–4), 294–316. https://doi.org/10.1080/16522354.2020.1783130
Ward, H., Wilson, E., & Zarsky, L. (2007). CSR and developing countries. Sustainable Development Innovation Briefs, 1, 1-8.