ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี The Need of Elderly’s Work Efficiency Development in Chon Buri Province
Main Article Content
Abstract
การศึกษานีมี้วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์ทำงาน
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุวัยกลางไม่ได้ทำงาน และผู้สูงอายุที่ทำงานส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุวัยต้น ส่วนเหตุผลที่ผู้สูงอายุทำงาน เป็นเพราะต้องการมีรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุวัยกลางจะทำงานอื่น ๆ (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมประมง รับจ้าง ค้าขาย การศึกษา การเมือง) อย่างไรก็ตามและผู้สูงอายุส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยกลางรู้สึกไม่มีความสุขในการทำงาน
2. เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงาน
ภาพรวมพบว่า ผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และความรู้ทักษะในการทำงาน โดยผ้สูงอายุวัยต้นต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานภาพรวมมากกว่าผู้สูงอายุวัยกลาง เมื่อเรียงลำดับความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานพบว่า ผู้สูงอายุวัยต้น เรียงลำดับได้ดังนี้ (1) ด้านร่างกาย (2) ด้านจิตใจ (3) ด้านสังคม (4) ด้านความรู้ทักษะในการทำงาน ส่วนผู้สูงอายุวัยกลาง เรียงลำดับได้ดังนี้ (1) ด้านร่างกายและด้านจิตใจ (2) ด้านสังคม (3) ด้านความรู้ทักษะในการทำงาน
This research aimed to study: 1) work situation of the Young-old and the Middle-old in Chon Buri, and 2) the comparison of needs for the development of work proficiency of the Young-old and the Middle -old in Chon Buri. The study employed quantitative methodology. 200 samples were selected. The research tool was questionnaire. The results were as follows:
1. Work situation
Most of the elderly, especially the Middle-old group, were not working. The elderly who were still working was the Young-old group. The reason for working was that these elderly people, especially the Young-old ones wanted to earn income. Most of the elderly, especially the Middle-old group were working in various fields (that were not related to agriculture, fishing, laborer, trading, education, and politics). However, the elderly, especially the Middle-old ones, were not happy at work.
2. The comparison of needs for work efficiency development
It was found that there were four aspects of differences in the needs for the development of work proficiency of the Young-old and the Middle-old at the significance level of 0.5. They included physical, mental, social, and working skills. The Young-old people wanted to develop their holistic working skills more than the Middle-old people did. The Young-old people’s needs for the development were ordered as follows: 1) physical development, 2) mental development, 3) social development, and 4) working skill development. The Middle-old people’s needs for the development were ordered as follows 1) physical development and mental development, 2) social development, and 3) working skill development.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น
References
2559, จาก https://www.msociety.go.th/article_attach/13225/17347.pdf
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2559). ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านผู้สูงอายุและสังคมสูงอายุ (2556-2559).วันที่ค้นข้อมูล 5
สิงหาคม 2559, จาก https://ora.kku.ac.th/Research_Inside.pdf
ชาญวิทย์ บ่วงราบ. (2551). ความต้องการการได้รับสวัสดิการของผู้สูงอายุในตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ณัฎฐ์ฐิตตา เทวาเลิศกุล วณิฎา ศิริวรสกุล และ ชัชสรัฐ รอดยิ้ม. (2559). แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษา
เทศบาลนครรังสิต. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2559 หน้า 529-545. วันที่ค้นข้อมูล4 สิงหาคม 2559, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/viewFile/61498/50672
ประจักษ์ น้ำประสานไทย. (2554). รายงานวิจัยเรื่องการจัดบริการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออก. บางแสน:
ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พลอยวไล ทองรักษ์ และ ทรรศนะ ใจอุ่นชื้น. (2559). พฤติกรรมมนุษย์ ใน อัมพร สุคันธวณิช, พวงเพชร สุรัตนกวีกุล (บรรณาธิการ),
มนุษย์กับสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หน้า 9-10.
รัชพล อ่ำสุข และปัทพร สุคนธมาน. (2559). แรงงานผู้สูงอายุสถานการณ์และนโยบายของประเทศไทย. วารสารการเมืองการ
ปกครองปี ที่ 6 ฉบับที่ 1กันยายน 2558 . วันที่ค้นข้อมูล 10 กันยายน 2559, จาก https://www.copag.msu.ac.th/journal
/filesjournal/6-1/2001201710045924.pdf
ศุภชัย ศรีสุชาติและแก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล. (2557). แนวทางการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: การจ้างงานผู้สูงอายุในภาคอุตสาหกรรมการผลิต.วันที่ค้นข้อมูล 7 สิงหาคม 2559, จาก https://research.mol.go.th/2013/rsdat/data/doc
/QMZPXO0/01QMZPXO0.pdf
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2555). จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539). สังคมวิทยาภาวะสูงอายุความเป็นจริงและการคาดการณ์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). รายงานสถิติจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2557.กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). รายงานสถิติจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2558.กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2559). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง.นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ.