Home
Submissions
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
บทความที่จะส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวข้องวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้สาขาภาษา ภาษาศาสตร์และวรรณคดี ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา นิเทศศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา สารสนเทศศาสตร์ และจิตวิทยา
บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
ความยาวของบทความ 13 - 17 หน้ากระดาษ A4 และกำหนดให้ใช้ตัวอักษร Thai Sarabun Psk ขนาด 16 พอยท์
รูปแบบในการเสนอบทความให้เป็นไปตามคำแนะนำผู้แต่ง (Author Guidelines) เท่านั้น
การเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ติดต่อกันมา 3 ทศวรรษ การเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ นั้นมีรายละเอียดหลักเกณฑ์และรูปแบบ ดังนี้
ประเภทของบทความที่รับพิจารณาต้องเป็นบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
ขอบเขตเนื้อหาต้องเกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ/หรือข้อมูลท้องถิ่นในภาคตะวันออก ภายใต้สาขาภาษา ภาษาศาสตร์และวรรณคดี ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา นิเทศศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา สารสนเทศศาสตร์ หรือจิตวิทยา
บทความที่ส่งมาให้กองบรรณาธิการพิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
รูปแบบการพิมพ์บทความ ผู้เขียนต้องจัดบทความให้เป็นไปตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนด ดังนี้
การตั้งค่าหน้ากระดาษ ขนาดกระดาษ A4 ตั้งระยะขอบกระดาษบนและล่าง ซ้ายและขวา 2.5 ซม. (1 นิ้ว) ระยะบรรทัด 1 เท่า (single space) พร้อมกำหนดเลขหน้ามุมบนขวาของหน้ากระดาษความยาวของบทความ
ความยาวของบทความอยู่ระหว่าง 13-17 หน้า โดยรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง (ระบบ APA style ทั้งภายในและส่วนท้ายของบทความ)
รูปแบบตัวอักษรในบทความ คือ TH Sarabun PSK
ส่วนแรกของบทความ
ชื่อเรื่องภาษาไทย (TH Sarabun PSK 18 พอยท์ จัดข้อความกึ่งกลางหน้ากระดาษ ตัวอักษรตัวหนา)
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ (TH Sarabun PSK 18 พอยท์ จัดข้อความกึ่งกลางหน้ากระดาษ ตัวอักษรตัวหนา) โดยกำหนดตัวอักษรตัวแรกของคำเป็นตัวใหญ่
ชื่อผู้เขียน (TH Sarabun PSK 14 พอยท์ จัดข้อความชิดขวา) ระบุชื่อภาษาไทย และวงเล็บชื่อภาษาอังกฤษ และให้ใส่อ้างอิงเชิงอรรถของผู้เขียนแต่ละคน เพื่อใส่ข้อมูลข้อที่ 6
บทคัดย่อภาษาไทย (TH Sarabun PSK 16 พอยท์) และคำสำคัญ (จำนวน 3-5 คำ) (TH Sarabun PSK 12 พอยท์) ไม่เกิน 250 คำ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (TH Sarabun PSK 16 พอยท์) และคำสำคัญ (จำนวน 3-5 คำ) (TH Sarabun PSK 12 พอยท์) ไม่เกิน 250 คำ โดยคำสำคัญภาษาอังกฤษนั้นให้กำหนดตัวอักษรตัวแรกของคำเป็นตัวใหญ่
เชิงอรรถ ให้ระบุข้อมูลสถานที่ทำงานหรือหลักสูตร และสถานศึกษาถ้าผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
ส่วนเนื้อหาของบทความ
เนื้อหาบทความให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยท์ และจัดข้อความชิดซ้ายทั้งหมด
บทความวิชาการ เนื้อหาประกอบไปด้วย
บทนำ
เนื้อหา
บทสรุป
รายการอ้างอิง
บทความวิจัย เนื้อหาประกอบไปด้วย
บทนำ
การทบทวนวรรณกรรม
วิธีการวิจัย ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ 1) ประเภทของการวิจัย 2) ประชากร ตัวอย่าง และการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (กรณีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล (กรณีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ) หรืออื่น ๆ 3) เครื่องมือในการวิจัย การพัฒนา และการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 4) การเก็บรวบรวมข้อมูล 5) การวิเคราะห์ข้อมูลและการรายงานผล
ผลการวิจัย
อภิปรายผล
ข้อเสนอแนะการวิจัย (ข้อเสนอแนะทั่วไป และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต)
กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
รายการอ้างอิง
ส่วนการอ้างอิง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ APA version 7.0 (American Psychological Association) ทั้งนี้ กองบรรณาธิการได้ทำตารางสรุปตัวอย่างวิธีการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา และการอ้างอิงในรายการอ้างอิงเบื้องต้นเพื่อช่วยในการเตรียมบทความ
ดาวน์โหลดวิธีการเขียนอ้างอิง คลิกที่นี่ค่ะ
วิธีการจัดส่งบทความ ดาวน์โหลดแบบเสนอบทความได้ที่หน้าเว็บไซต์วารสาร และส่งบทความในรูปแบบไฟล์ Word และ Pdf เข้ารับการพิจารณาผ่านระบบออนไลน์ Thai Journals Online (Thaijo) ได้ที่ URL: https://www.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/index เท่านั้น สำหรับบทความที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว จะได้รับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่อไป
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น