ความสามารถในการอ่านบทความข่าวจากนิตยสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ The Abilities in Reading News Articles from an English Magazine of Matthayomsuksa 6 Students at Silacharaphiphat School
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ศึกษาความสามารถในการอ่านบทความข่าวจากนิตยสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จาก 5 แผนการเรียน ได้แก่ วิทย์-คณิต คณิต-อังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส และการงานอาชีพและเทคโนโลยี รวม 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัยคือ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านบทความข่าวจากนิตยสารภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ โดยใช้เกณฑ์การวัดผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และการเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ One-Way ANOVA ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1. ความสามารถในการอ่านบทความข่าวจากนิตยสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์อยู่ในระดับเกือบพอใช้ 2. นักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ต่างกัน มีความสามารถในการอ่านบทความข่าวจากนิตยสารภาษาอังกฤษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
This quantitative research aimed to study the ability in reading news articles in an English magazine of Matthayomsuksa 6 students at Silacharaphiphat School. The population was 116 Matthayomsuksa 6 students in the first semester of the academic year, 2014, in five learning programs: Science-Mathematics, Mathematics-English, Chinese, French, and Career and Technology. The research tool was a reading test. The statistics used to analyze data were percentage and One-Way ANOVA. The results revealed as follows:
1. The students’ abilities in reading news articles in an English magazine were at a nearly satisfactory level.
2. The students from diverse learning programs had significantly different abilities in reading news articles in an English Magazine at thelevel of .01.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น
References
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมสามัญศึกษา. (2541). การศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
ไกรคุง อนัคฆกุล และกรรณิการ์ อนัคฆกุล. (2537). เทคนิคพิชิตการอ่าน. กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิต.
จุติมา ศรีบัว.(2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจจากหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 5 (1), 369-375.
ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. (2538).เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อัจฉรา วงศ์โสธร. (2538). แนวทางการสร้างข้อสอบภาษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน.(2544). การประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ปรีชาการพิมพ์.
Goodman, K. S. (1982). Language& Literacy.Boston: Routledege&Kogan Paul.
Harris, L.A., & Smith, C.B. (1986). Reading instruction through diagnostic teaching in the classroom. New York:
Macmillan.
Nie, N. H., Bent, D. H., & Hull, C. H. (1970).SPSS: statistical package for the social sciences. New York: McGraw-Hill.
Rovinelli, R.J.,& Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced
test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Rumelhart, D.E. (1981). Schemata: The Building Block of Cognition. In J.T.Guthrie (Eds.), Comprehension in teaching
(pp. 22-23).United States of America: International Reading Association.