แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน Public Participation Approach for Sustainable Community Development

Main Article Content

จินตวีร์ เกษมศุข

Abstract

แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation Approach) ถือว่าเป็นตัวอย่างแนวคิดหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้เกิดกระบวนการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างสมาชิกในสังคมหรือชุมชนให้เป็นไปได้โดยสะดวกขึ้น ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง (Strong Community) จะเกิดขึ้นได้ หากสมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพราะการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนนี้ จะเป็นพลังชุมชนที่ผลักดันให้เกิดการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาของชุมชนในแต่ละขั้นตอนให้บรรลุเป้าหมาย


ประเทศกำลังพัฒนา เช่นประเทศไทยเองนั้น ยังจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมหรือชุมชนให้เป็นไปอย่างยั่งยืน (Sustainable Community Development) โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ชนบทที่มีบริบทเฉพาะตน บทความนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมที่สามารถช่วยระดมพลังในการพัฒนาชุมชน จากงานวิจัยในบริบทของสังคมไทย ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้แนวคิดและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปได้


Public participation approach is a paradigm encouraging communication process and interactions among members of the society or community, and the real sense of community is born in its process. It is an important mechanism and a driving force that turns into a “strong community”. Community participation in its own development is important due to the need for increased community empowerment to motivate the active contributions of members.


Developing countries such as Thailand require a public participation approach to achieve sustainable community development, especially in rural communities having their own context. The purpose of this article is to analyze the application of such an approach from the research in Thai context, and to declare the importance of empowering sustainable community development in accordance with community’s conditions and development objectives.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles

References

กรมอนามัย. (2550). โครงการศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานภารกิจกรมอนามัยกระทรวง
สาธารณสุข. สืบค้นจาก https://psdg.anamai.moph.go.th/news/cpadmin/km/files/chapter2.doc

กาญจนา แก้วเทพ. (2548). ก้าวต่อไปของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2556). การใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย.

จุฑารัตน์ชมพันธุ์. (2555). บทวิจารณ์เรื่อง การวิเคราะห์หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนใน The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement ในบริบทประเทศไทย. โดย Creighton, J. L.(2005).วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(1),123-141.

ณัฐกานต์ เกตุชาวนา. (2554). ปัญหาอุปสรรคของกระบวนการมีส่วนร่วมโครงการจัดรูปที่ดินของจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2550). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

นิรมล กุลศรีสมบัติ,และพรสรร วิเชียรประดิษฐ์. (2556). กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการชุมชนของประเทศญี่ปุ่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ "การพัฒนาคน ชุมชน องค์การ และสังคม พัฒนบริหารศาสตร์กับทางเลือกใหม่ด้านการพัฒนาในอนาคต,” 13-14 มิถุนายน 2556, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วรรณดี สุทธิวรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

วัฒนวงศ์ รัตนวราห และจินตวีร์ เกษมศุข. (2553). การศึกษาและพัฒนากลไกการติดตามประเมินผลการสวมหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่
รถจักรยานยนต์ในจังหวัดนครปฐม โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ.

วิลาวัณย์ มีอินถา. (2553). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. จุลนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิสาขา ภู่จินดา. (2558). แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยใช้หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2560). กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษากลุ่มซอสพริกป้าพุ ตำบลบางพระ อำเภอ
ศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(47), 95-121.

โสภณ สุภาพงศ์. (2541). แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ใน วิสาขา ภู่จินดา. (2558). แนวทาง
การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยใช้หลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Cohen, S.L. (1996). Mobilizing Communities for Participation and Empowerment.In Servaes, J., Jacobson, T.L., & White, S.A. (eds). Participatory Communication for Social Change. New Delhi: Sage.

Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept, Theory and Implementation.Atlanta, GA: Georgia State University.

Melkote, S. R. (2001). Communication for Development in the Third World. 2nded. New Delhi, India: Sage Publications.

Rogers, E. M. (1995). Diffusion of Innovations. 4thed. New York: The Free Press.

White, S.A. (1999). Participation: Walk the talk. In S.A. White (ed.) The art of facilitating participation.New Delhi: Sage.