ปัญหาในการสื่อสารและการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่ทำงานในสถาบันการศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ Communication Problems and Cross-Cultural Adjustment of Foreigners Working in Educational Institutions, Phetchabun Province

Main Article Content

บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย

Abstract

งานวิจัยเรื่อง “ปัญหาในการสื่อสารและการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่ทำงานในสถาบันการศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาการสื่อสารของชาวต่างชาติที่ทำงานในสถาบันการศึกษา 2) เครือข่ายการสื่อสารของชาวต่างชาติ 3) ทัศนคติของชาวต่างชาติต่อการทำงานร่วมกับชาวไทย และ 4) การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ โดยศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการสื่อสารหลักคือปัญหากำแพงภาษา การไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารหรือได้รับล่าช้า ความแตกต่างทางวัฒนธรรม การหลีกเลี่ยงการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา สถาบันฯ ทุกแห่งใช้การสนทนาและการประชุมเป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร เกินหนึ่งในสามใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางร่วม แต่ชาวต่างชาติเห็นว่าเครือข่ายการสื่อสารในสถาบันฯ อ่อนแอ


ชาวต่างชาติประทับใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวก ความอ่อนน้อมของผู้เรียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในเชิงลบ ได้แก่ ทัศนคติ/ พฤติกรรมของผู้เรียนที่ให้ความสำคัญกับคะแนนและเกรดมากกว่าการเรียนรู้ ระบบการศึกษาที่หลีกเลี่ยงการซ้ำชั้น การไม่สื่อสารตรงไปตรงมา การสื่อสารทางเดียวแบบบนลงล่าง การพูดลับหลัง และการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกัน


ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมก่อนเดินทางจากสื่ออินเตอร์เน็ต ใช้วิธีปรับตัวข้ามวัฒนธรรมโดยสังเกต สอบถาม เลียนแบบพฤติกรรมและทำกิจกรรมร่วมกับชาวไทย ทั้งนี้ ชาวต่างชาติโดยมากปรับตัวแบบมีอัตลักษณ์คู่


The research entitled “Communication Problems and Cross-Cultural Adjustment of Foreigners Working in Educational Institutions, Phetchabun Province” was a qualitative research aiming to study 1) communication problems of foreigners working in educational institutions 2) the foreigners’ communication networks 3) the foreigners’ attitudes towards working with Thais and 4) study cross-cultural adjustment in working in educational institutions. The data were collected through a focus group discussion and in-depth interviews with 20 key informants.


The study indicated the following findings:


The communication problems faced by foreigners consisted of language barrier, missing or delayed information, and cultural differences in communication. Thais tended to avoid straightforward communication.


Every educational institution applied informal talking and group meetings as the main channels. More than one third of them used social media. However, in the eyes of the foreigners, the communication networks in their institutions were weak.


The majority were impressed with the facilities provided in classrooms and by the students’ respectfulness.


On the contrary, they mentioned factors causing negative attitudes which were attitude/behavior of the students focusing on grades instead of learning, the educational system which avoided repeating grade levels, avoidance of straightforward communication, one-way and top-down communication, gossiping and being unequally treated.


Most of the foreigners learned Thai language and culture before their arrivals, mostly through the internet. Their methods of cross-cultural adjustment were observation, asking questions, behavioral imitation, and doing activities with Thais. The majority of them adjusted with dual identity.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles

References

กรมการจัดหางาน. วารสารสถิติคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2557. สืบค้นเมื่อวันที่16 กรกฎาคม
2560, จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/14050/17885.pdf

กองอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.(2555). การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน.เอกสารมอบให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการอบรม
อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: กองอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.

โกเมศ สุพลภัค. (2555). การรับรู้และการสื่อสารเพื่อการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานิษฏ์ กองแก้ว. (2544). การสื่อสารและการปรับตัวของอาจารย์ต่างชาติในมหาวิทยาลัยไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงสมร พงษ์พานิช. (2554). การศึกษาปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารด้วยวาจาของนิสิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2551.วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1), 85-97.

นวลศรี ข้ามประเทศ. (2555). ปัญหาการฟังและพูด ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนอาชีวเอกชน กรุงเทพ
มหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรรุ่ง เกษจุฬาศรีโรจน์. (2554). “หน้า” กับความขัดแย้งและวิธีการแก้ไขความขัดแย้งในองค์กรหลากเชื้อชาติไทย-ญี่ปุ่น ในประเทศ
ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ คนไทยรั้งท้ายโลก. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557, จาก
https://www.bangkokbiznews.com /home/detail/politics/education/20131120/544407/ภาษาอังกฤษ-คนไทยรั้งท้ายโลก.html

เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์) (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมสุดา ศรีวัฒนานนท์ (2547).การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการทำงานของพนักงานชาวไทยและชาวตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ บุญอาจ (2552). การสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนไทยที่เข้าร่วมโครงการเวิร์คแอนด์ฮอลิเดย์ วีซ่าไทย-ออสเตรเลีย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศ-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 จังหวัดเพชรบูรณ์ (2557). ข้อมูลบุคลากรชาวต่างชาติ พ.ศ. 2556-2557.เพชรบูรณ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40. (เอกสารอัดสำเนา)

อดิศา เบญจรัตนานนท์ (2558). โครงการศึกษารูปแบบ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน
ระดับอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

อัชวัตร แสนศรี (2552). เครือข่ายการสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนิสิตโครงการแลกเปลี่ยน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kai, J. (2005). Cross-Cultural Communication. Medicine, 33(2), 31-34.

Pitts, J. (2009). Identity and the role of expectations, stress, and talk in short-term student sojourner adjustment: An application of the integrative theory of communication and cross cultural adaptation. International journal of Intercultural Relation, 33(2009), 450-462.

Rogers, E.M., Hart W.B., &Miike, Y. (2002).Edward T. Hall and the History of Intercultural Communication: The United States and Japan. Keio Communication Review 24(2004), 3-26.