เจตคติของประชาชนต่อการเห็นคุณค่าและความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด People’s Attitudes towards Value and Cooperation in the Conservation of the Mangrove Forest in Ban Pred Nai, Trat Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด 2) เพื่อศึกษาระดับเจตคติของประชาชนต่อการเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับเจตคติของประชาชนต่อการเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด 4) เพื่อศึกษาความร่วมมือของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด 5) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 100 ครัวเรือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัย พบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ป่าชายเลน มีเจตคติต่อการเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ป่าชายเลนในระดับมาก ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับเจตคติของประชาชน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กิจกรรมที่ประชาชนให้ความร่วมมือ คือ ปลูกป่าชายเลน และมีข้อเสนอแนะในการจัดค่ายเยาวชนให้รู้ถึงคุณค่าของป่าชายเลน และปลูกฝังให้เยาวชนสานต่อจากคนรุ่นก่อน
This research aimed 1) to study the people’s understanding in the mangrove forest conservation at Ban Pred Nai, Trat Province; 2) to study the levels of people’s attitudes towards value in the mangrove forest conservation at Ban Pred Nai, Trat Province; 3) to compare the personal factors affecting their attitudes towards value in the conservation; 4) to study the people’s cooperation in the mangrove forest conservation at Ban Pred Nai, Trat Province; and 5) to study suggestions about people’s attitude towards value in the conservation. The sample consisted of 100 households. Questionnaires and interviews were used for data collecting. Frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviations, t-test, and F-test were used in data analysis.
The findings were as follows: People understood about the mangrove forest conservation. The attitude towards value in the mangrove forest was at a high level. To the comparison between the personal factors with people’s attitudes, the correlations were not significantly and statistically different. The activity people participated in was planting mangrove trees in the forest. People suggested that there should be camping held for youth to realize the value of mangrove forest and to continue conserving things of people from older generations.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น
References
มารียัม เจ๊ะเต๊ะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษา โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะ
พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก. (2546). (ร่าง) แผนการจัดการป่าชายเลนชุมชนบ้านเปร็ดใน. กรุงเทพมหา นคร. (เอกสารอัดสำเนา)
อรทิน สีลาภรณ์. (2546). ศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏยะลา.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.