พฤติกรรมการสื่อสารของผู้บริโภคยุคดิจิทัลเกี่ยวกับแบรนด์สมาร์ทโฟนในห้องมาบุญครองบนเว็บไซต์พันทิปดอทคอม The Communicative Ways of Behaving of the Digital Consumer Relating to Smart Phone Brands in Maboonkhrong Forum on www.Pantip.com

Main Article Content

ศันสนีย์ วงศ์วสุเศรษฐ์
มานะ ตรีรยาภิวัฒน์

Abstract

พฤติกรรมการสื่อสารของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากในอดีต เพราะสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ผู้บริโภคสามารถสร้างเนื้อหาและเผยแพร่ได้ด้วยตนเอง พฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคดิจิทัลหรือเรียกว่าโพรซูเมอร์ (Prosumer) การศึกษาเชิงคุณภาพชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรม การสื่อสารของผู้บริโภคยุคดิจิทัลเกี่ยวกับแบรนด์        สมาร์ทโฟนบนเว็บไซต์พันทิปดอทคอม โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 10 กระทู้แนะนำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมาร์ทโฟนครบ 4 ขั้นตอนกระบวนการตัดสินใจซื้อ และสัมภาษณ์เจ้าของกระทู้ 5 คน ผลการศึกษาพบว่า      ผู้บริโภคยุคดิจิทัลเข้ามาตั้งกระทู้เพื่อต้องการแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว เขียนรีวิวให้ความรู้ สำหรับผู้ตอบกระทู้เข้ามาอ่านกระทู้เพื่อต้องการข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อค้นคว้าหาความรู้ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจรูปแบบกระทู้ใช้ภาษาไม่เป็นทางการ ใช้ภาพประกอบ วิดีโอ ใส่ลิงค์เชื่อมโยงเว็บไซต์ต่าง ๆ มีการใช้สติกเกอร์ร่วมกับการนำเสนอเนื้อหาและแสดงความคิดเห็น มีการใช้ระบบให้คะแนนความนิยมกระทู้และความคิดเห็น นอกจากนี้ ผู้ตั้งกระทู้ยังเป็นผู้บริโภคยุคดิจิทัล หรือโพรซูเมอร์ประเภทผู้สร้างเนื้อหา ผู้ตอบกระทู้เูป็นประเภทนักสะสมเนื้อหา เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อ เก็บข้อมูลลูกเล่นสมาร์ทโฟน และมีลักษณะร่วมอยู่ 2 ประเภท คือ การเป็นผู้เข้าร่วมและนักวิจารณ์ ซึ่งจะวิพากษ์วิจารณ์ให้คำแนะนำการบริการหลังการขาย และวิจารณ์สมาร์ทโฟนรุ่นที่นำมารีวิว


Consumers' purchasing behavior has changed over time due to the launch of social media. This allows consumers to be able to create and publicize the contents about the products by themselves. This behavior has become the behavior of digital age consumers called “Prosumer”. This qualitative research is aimed to study attributes of communication behavior on buying decision process of smart phones. Researcher employed methods of content analysis and in-depth interview as research instruments. To interview and analyze the research population. Then the ten recommended posts regarding smart phones and 4 steps of buying decision were analyzed and five post writers were interviewed. From the results of the studies, the digital consumers’ posts are to share their personal experiences and write reviews to give knowledge. Prior to their buying decision, people who read or respond to the post need the data and knowledge in order to realize what is best model. The posts is informal and there are illustration, video, and the links connecting with websites. Stickers are also used with the presentation of the contents and comments. The popular vote for the posts or comments is used. The people who post are digital age consumers who create contents. The people who respond to collect data for their final decision and they collect the data of the smart phones’ features. There were two common characteristics, both participants and commentators who give comments, give advice of after sales service and give comments on the reviewed smart phone’s model on the post.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles

References

ณธิดา รัฐธนาวุฒิ. (2552). Social มันคืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2558, จาก https://www.marketingoops.com/media-ads/social-media/what-is-social-media

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2557). User-Generated Content ยุคสื่อของผู้ใช้. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559, จาก https://positioningmag.com/58244

ปัทมวรรณ สถาพร. (2015). 5 Trend พฤติกรรมผู้บริโภคไทยปี 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559, จาก https://positioningmag.com/59104

ผาณิตชยา ชำนาญพูด. (2554). การศึกษารูปแบบและเนื้อหาของการสื่อสารแบบบอกต่อกับการใช้การสื่อสารแบบบอกต่อเพื่อเป็น
ช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสมาชิกเว็บไซต์ www.pantip.com กรณีศึกษาห้องมาบุญครอง.วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โพรซูเมอร์ คำนี้กำลังจะฮิต. (2555). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://www.komchadluek.net/detail/20120122
/120905/โพรซูเมอร์คำนี้กำลังจะฮิต.html

มานาคอมพิวเตอร์. (2013). การใช้งานเบื้องต้น Pantip.com โฉมใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2259, จาก https://www.manacomputers.com/pantip-com-new-interface-version/

มานิต รัตนสุวรรณและสมฤดี ศรีจรรยา. (2555). การตลาดยุคสร้างสรรค์ 4.0. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ลิฟ.

วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2555). ปรากฏการณ์ทางการสื่อสารยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
(สสอท.) ปีที่ 18, ฉบับที่ 2.

วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ และคณะ. (2559). re: digital การตลาดยุคใหม่ เจาะใจลูกค้า. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

วุฒิ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จี. พี. ไซเบอร์พรินท์.

เวอร์ไทม์, เคนท์และเฟนวิค เอียน. (2551). DigiMarketing เปิดโลกนิวมีเดียและการตลาดดิจิทัล. แปลโดย ณงลักษณ์ จารุวัฒน์
และประภัสสร วรรณสถิตย์. สมุทรปราการ: เกียวโด เนชั่นพริ้นติ้ง เซอร์วิส.

ศุนิสา ทดลา. (2542). รูปแบบพฤติกรรมการสื่อสารในห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหา
บัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสาร มวลชน ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อรนุช เลิศสุวรรณกิจ. (2555). ZMOT คืออะไร? คำนิยามด้านการตลาดใหม่โดย Google. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2558, จาก
https://thumbsup.in.th/2012/04/zmot/

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2548).พฤติกรรมการสื่อสาร หน่วยที่ 1-8.จำนวนเล่ม 500 (ครั้งที่พิมพ์ 8). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา
ธิราช.

Engagement Is The Business Goal. (2010). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2558, จาก https://www.leadernetworks.com
/2010/01/engagement-is-business-goal.html

Nation TV. ปี 61 คนไทยใช้สมาร์ทโฟน90%. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559, จาก https://www.nationtv.tv/main/content
/economy-business/378485613/

Top Sites in Thailand. (2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2558, จาก https://www.alexa.com/topsites/countries/TH

Fuchs, Christian. (2010). Social Software and Web 2.0: Their Sociological Foundations and Implications. In Handbook of Research on Web 2.0, 3.0, and X.0, by San Murugesan: 764-789. Hershey, PA: IGI Global.

Fuchs, Christian. (2012). Google Capitalism.TripleC, 10(1), 42-48.

Li, C., and Bernoff, J.(2008).Groundswell: Winning in a world transformed by social technologies. Boston, MA: Harvard
Business Press.

Paltrinieri, R., and Esposti, P. D.. (2013). Processes of Inclusion and Exclusion in the Sphere of Prosumerism. 5:
21-33, Retrieved July 26, 2015, from https://www.mdpi.com/1999-5903/5/1/21/pdf

Philipp Mayring. (2014). Qualitative Content Analysis. Austria: Klagenfurt.