การปรับตัวจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ Adaptations Resulting from Unwanted Pregnancy among Students: A Case Study of a Province in the Southern Part of Thailand

Main Article Content

อังคณา ณรงค์ฤทธิ์
มาลี สบายยิ่ง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักศึกษาที่เคยตั้งครรภ์ในขณะกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา แล้วเลือกดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปจนคลอด จำนวน 8 ราย ทำ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและนำเสนอด้วยวิธีการเชิงพรรณนา 


ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า นักศึกษามีการปรับตัว 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอัตมโนทัศน์ นักศึกษามีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง กล่าวคือ มีความเชื่อมั่นว่าตนสามารถเรียนต่อไปพร้อมกับการตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกได้ มีการคิดในแง่บวก การปรับการแต่งกายเพื่อปกปิดการตั้งครรภ์ และการพึ่งตนเอง ตั้งใจเรียนให้มากที่สุด เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น มีงานทำที่ดีในอนาคต สามารถเลี้ยงตนเองและลูกได้ ตลอดจนการใช้ชีวิตไปในทางที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม เพื่อบรรเทาความรู้สึกผิด 2) ด้านบทบาทหน้าที่ได้แก่ บทบาทของการเป็นแม่ที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของตนเองและลูกในครรภ์เลือกรับประทานอาหาร พักผ่อนนอนหลับ เลี้ยงลูก ควบคู่ไปกับบทบาทของการเป็นนักศึกษาที่ต้องพยายามทุ่มเทกับการเรียนมากขึ้น และการจัดการกับเวลาเรียนของตนเพื่อให้สำเร็จการศึกษา สร้างความภาคภูมิใจให้ครอบครัว 3) ด้านการพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เป็นการขอความช่วยเหลือ ในเรื่องของค่าใช้จ่าย ค่าเล่าเรียน การเรียน คำปรึกษาและกำลังใจจากครอบครัว แฟน เพื่อน อาจารย์ และครอบครัวของแฟน


This qualitative study aimed at investigating adaptations resulting from unwanted pregnancy among students. Data were collected through in-depth interviews with eight students who were pregnant while studying in a tertiary institution and opted to continue their pregnancy until giving births. The data were analyzed and presented with analytical description.


The results of the study indicated that the students had to adapt themselves in three aspects. 1) Self-concept-The students had self-esteem, were confident that they could continue studying while pregnant and raise their child. They were positive, adapted the way they dress to hide their pregnancy; were self-dependent and paid as much attention to studying as possible to be accepted by others, have a good job in the future, be able to raise themselves and their children, and to lead their lives morally correct to mitigate their feelings of guilt. 2) Role and responsibilities-In the role of a mother, they take care of their own health and the baby in the womb by choosing what to eat, getting enough sleep, and taking care of the baby at the same time as playing the role of a student who dedicate to studying and managing the time to achieve their studies and make their families proud of them. 3) Dependence on others-They asked for help in expenses for tuition fees, for advice and encouragement from their families, partners, friends, lecturers and their partner’s family.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles

References

บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. (2557). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: นโยบาย แนวทางการดำเนินงานและติดตามประเมินผล (พิมพ์ครั้งที่ 2).นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

พิมพ์ศิริ พรหมใจษา กรรณิการ์ กันธะรักษา และจันทรรัตน์ เจริญสันติ. (2557). “ผลของการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมต่อ
บทบาทการเป็นมารดาในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น”, พยาบาลสาร, 41, 97-106.

มาลี เกื้อนพกุล. (2554). “Teenage Pregnancy”, ใน บุญศรี จันทร์รัชชกูล (บรรณาธิการ). การตั้งครรภ์ในมารดาวัยเสี่ยง. (35-50).
กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น.

ศิริประภา พิมณุวงศ์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด.วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สิรินุช เสงี่ยมศักดิ์. (2548). การเผชิญปัญหาภาวะวิกฤตภายใต้กระบวนการตัดสินใจเพื่อตั้งครรภ์ต่อของหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์: ศึกษาเฉพาะกรณี สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โสภาสินี เอี่ยมสอาด. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์.(2558). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม
2559, จากhttps://rh.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=86

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นไทย ปี พ.ศ. 2556. นนทบุรี:
สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

หทัยทิพย์ ไชยวาที. (2551). ประสบการณ์ด้านจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย ทรงผาสุข. (2551). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล อัตมโนทัศน์ และแรงสนับสนุนจากคู่สมรสต่อพัฒนกิจของการตั้งครรภ์ใน
หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นตอนปลาย.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Kenneth D. Phillips and Robin Harris.(2014).Sister Callista Roy: Adaptation Model. In Alligood,M.R.(Ed),Nursing
theorists and their work (pp.303-331). United States: Elsevier Health Sciences.