จังหวะในการพูดของเด็กไทยช่วงอายุ 5-7 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาจังหวะในการพูดของเด็กไทยช่วงอายุ 5-7 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของจังหวะในการพูดภาษาไทยของเด็กกลุ่มดังกล่าว ผู้ให้ข้อมูลภาษาเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 10 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 3 และประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มละ 5 คน โดยครูประจำชั้นเป็นผู้คัดเลือกจากผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและพูดภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาแม่ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นเสียงพูดต่อเนื่องมีความยาวรวม 30 วินาทีต่อผู้ให้ข้อมูลภาษาหนึ่งคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวัดค่าระยะเวลาของหน่วยจังหวะและค่าระยะเวลาของพยางค์หนักและพยางค์เบาเพื่อนำมาคำนวณหาค่าระยะเวลาเฉลี่ยของหน่วยจังหวะและพยางค์ จากนั้นจึงหาค่าความแตกต่างทางสถิติด้วย Analysis of Variance (ANOVA) ผลการศึกษาพบโครงสร้างหน่วยจังหวะทั้งสิ้นสี่แบบ โดยพบหน่วยจังหวะแบบพยางค์เดียวมากที่สุด ค่าระยะเวลาของพยางค์หนักและพยางค์เบามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จังหวะในการพูดของเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นจังหวะแบบใด อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะที่ค่อนไปทางจังหวะแบบที่ใช้พยางค์เป็นเครื่องกำหนด และเริ่มปรากฏแนวโน้มที่อาจจะเปลี่ยนไปสู่จังหวะแบบมีการลงเสียงหนักเบาเป็นเครื่องกำหนด
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น
References
ผู้พูดปกติ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ญาณินท์ สวนะคุณานนท์. (2555). ค่าระยะเวลาของเสียงเรียงในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: นัยสำคัญต่อการจัดกลุ่มตามแนว แบบลักษณ์ภาษา. ดุษฎีนิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, ภาควิชาภาษาศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2539). จังหวะในภาษาไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 1-6 (พิมพ์ครั้งที่ 7).
นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ผณินทรา ธีรานนท์. (2543). หน่วยจังหวะกับการแปรของวรรณยุกต์ในคำพูดต่อเนื่องภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหา
บัณฑิต, ภาควิชาภาษาศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2546). คู่มือการฝึกพูดเบี้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อภิญญา ห่านตระกูล และวริษา โอสถานนท์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบจังหวะการพูดของเด็กออทิสติกกับเด็กปกติ. วารสาร
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 22(1), 151-180.
Abercrombie, D. (1967). Elements of general phonetics. Chicago: Aldine.
Hoequist, C., Jr. (1983). Syllable duration in stress-, syllable- and mora-timed languages. Phonetica, 40, 203-237.
Jusczyk, P.W., Houston, D., Newsome, M., (1999). The beginning of word segmentation in English-learning infants. Cognitive psychology, 39(3-4), 159-207.
Ladefoged, P., and Johnson, K. (2011). A course in phonetics (6th ed.). Boston: Wadsworth/Cengage Learning.
Laver, J. (1994). Principles of phonetics. Cambridge: Cambridge University Press.
Luangthongkum, T. (1977). Rhythm in standard Thai. Doctoral dissertation. University of Edinburgh.
Luangthongkum, T. (1984). Rhythmic groups and stress groups in Thai. In The proceedings of the international conference on Thai studies (pp. 1-10). Bangkok: Chulalongkorn Univerisity.
Mehler, J., and Christophe, A. (1995). Maturation and learning of language in the first year of life. In M.S.Gazzaniga (Ed.), The cognitive neurosciences: a handbook for the field. (pp. 943-954). Cambridge, Mass: MIT Press.
Nazzi, T., Bertoncini, J., and Mehler, J. (1998). Language discrimination by newborns: towards an understanding of the role of rhythm. Journal of experimental psychology: human perception and performance, 24(3), 756-766.
Nazzi, T. and Ramus, F., (2003). Perception and acquisition of linguistic rhythm by infants. Speech communication, 41(1), 233-243.
Nespor, M. (1990). On the rhythm parameter in phonology. In I.M. Roca. (Ed.), Logical issues in language acquisition, (pp. 157-175). Dordrecht: Foris.
Payne, E., Post, B., Astruc, L.,Prieto, P., and Vanrell, M. (2011). Measuring child rhythm. Language and speech, 55(2), 203-229.
Savithri, S., Sreedevi, N., Kavya, V. (2009). Speech rhythm in Kannada speaking children. The proceedings of the national symposium on acoustics 2009. (pp.1-6). India: All India Institute of Speech & Hearing.
Sawanakunanon, Y. (2014). Segment timing in twelve Southeast Asian languages. Manusya. special issue 20,
124-156.