การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ

Main Article Content

กิรติ คเชนทวา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารที่เหมาะสมต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรต่าง ๆ ในโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (2) เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ  (3) แกนนำผู้สูงอายุภาคประชาชนของกรุงเทพฯ จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี และ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยหรือทำงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 480 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร เนื้อหาสาร สื่อ/ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ขณะที่ตัวแปรการบูรณาการสื่อในชุมชน และการสื่อสารเนื้อหาที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิถีสุขภาพของผู้สูงอายุ เป็น 2 ตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ

Downloads

Article Details

บท
บทความ
Author Biography

กิรติ คเชนทวา, คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Lecturer at Faculty of Mass Communication, Ramkhamhaeng University, Bangkok, Thailand.

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

กัตติกา ธนะขว้าง, ผ่องใส กันทเสน และรัตนากร ยศอินทร์. (2555). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองประยุกต์กับฟ้อนมองเซิ้งเมืองน่าน ต่อศักยภาพทางกายของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 81-93.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2553). การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

จารุวรรณ ศิลา. (2546). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำเซิ้งโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลธิชา จันทคีรี. (2558). ผลโปรแกรมการใช้สื่อเพลงสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองต่อความรู้และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(4), 15-30.

ดวงพร คำนูณวัฒน์, เนตร หงส์ไกรเลิศ, กุลธิดา จันทร์เจริญ, ดวงแข บัวประโคน, สุนิดา ศิวปฐมชัย, สิรินทร พิบูลภาณุวัธน์ และธีรพงษ์ บุญรักษา. (2553). สื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะของเยาวชน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 29(2), 89-110.

นภัส แก้ววิเชียร และเบญจพร สุธรรมชัย. (2553). ดูแลสุขภาพให้เป็นองค์รวม. ใน เทวัญ ธานีรัตน์ (บรรณาธิการ), การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ (หน้า 24-30). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ และกฤษณา ตรียมณีรัตน์. (2553). เมื่อย่างเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ. ใน เทวัญ ธานีรัตน์ (บรรณาธิการ), การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ (หน้า 10-14). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติสำหรับงานวิจัยหลายตัวแปร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สังวรณ์ งัดกระโทก. (2557). โมเดลสมการโครงสร้างสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (เอกสารประกอบการสอน). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ajzen, I. (1985). From intention to actions: A theory of planned behavior. In J. Kuhl & J. Beckman (Eds.), Action control: From cognition to behavior (pp. 11-39). Heidelberg, Germany: Springer.

Berlo, D. K. (1960). The process of communication: An introduction to theory and practice. New York, NY: Halt Rinehart and Winston.

Jitramontree, N. (2003). Predicting exercise behavior among Thai elders: Testing the theory of planned behavior. Doctoral dissertation in Nursing, The University of Iowa.

Kachentawa, K., & Cheyjunya, P. (2017). Factors promoting participatory communication to create health communication behavior in the community. International Journal of Behavioral Science, 12(1), 13-28.

Malikhao, P. (2016). Effective health communication for sustainable development. Hauppauge, New York, NY: Nova Science Publishers, Inc.

Prasad, K. (2009). Communication for development. Reinventing theory and action. Vol. 1-Understanding communication. Delhi: B.R. Publishing Corporation.

Richard, J. C. & Turner, N. T. (2010). Essential social psychology (2nd ed.). London: Sage Publications.

Suggs, L. S. & Ratzan, S. C. (2012). Global e-health communication. In R. Obregon & S. Waisbord (Eds.), The handbook of global health communication (pp. 250-260). Chichester, West Sussex, UK: Wiley-Blackwell.