การตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ

Main Article Content

สมฤทัย ธีรเรืองสิริ
ดวงกมล อุ่นจิตติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกเรียน สาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ จำแนกตามข้อมูลสถานภาพส่วนตัว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ชั้นปีที่ 1-2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 แห่ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบแบ่งชั้นแบบเป็นสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทดสอบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ LSD
ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านค่าใช้จ่ายในการเรียน ด้านสถานที่และทำเลที่ตั้ง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านทัศนคติ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบ การตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน และศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาด้านสถานที่ และทำเลที่ตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญกมญ เถื่อนเหมือน. (2549). ปัจจัยจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีปทุม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหาร การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ข้อมูลสถิติการศึกษา. (2561). เข้าถึงได้จาก http://www.info.mua.go.th/information/show_all_statdata_table.php?data_show=2

จิระจิตต์ ราคา. (2551). การตัดสินใจและการควบคุม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 32403 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ หน่วยที่ 1-7 (หน้า 227-316) (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทักษะที่นายจ้างต้องการจากนักศึกษาจบใหม่. (2562). เข้าถึงได้จาก https://campus.campus-star.com/jobs/86238.html

ธนพรรณ กุลจันทร์ และปราณี วงศ์จำรัส. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พัชรา บุญมานำ และสมควร ทรัพย์บำรุง. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง สภาพแวดล้อมในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, อรทัย เลิศวรรณวิทย์, ปริญ ลักษิตานนท์, องอาจ ปทะวานิช และจิระวัฒน์ อนุชชา. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.

Harrison, F. E. (1999). The managerial decision-making process (5th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Hoppock, R. (1967). Theories of occupational choice and careers development occupational information (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Render, B., Stair, R. M., & Hanna, M. E. (2012). Quantitative analysis for management (11th ed.). Boston: Pearson.