วิเคราะห์ปัจจัยการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในพิธีกรรมของไทยทรงดำ: กรณีศึกษาเขตตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาองค์ความรู้ด้านความเชื่อดั้งเดิมของไทยทรงดำ ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี 2. ศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมของไทยทรงดำ ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี 3. วิเคราะห์ปัจจัยการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในพิธีกรรมไทยทรงดำ ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำในการประกอบพิธีกรรมและกลุ่มชาวบ้าน อายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อหาความเชื่อดั้งเดิมของคนรุ่นพ่อแม่ และความเชื่อในพิธีกรรมของคนรุ่นปัจจุบัน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่าองค์ความรู้ด้านความเชื่อดั้งเดิม ได้แก่ ผี ขวัญ ข้อปฏิบัติข้อห้าม และมดมนต์ (คาถา) ความเชื่อที่นำไปสู่การปฏิบัติพิธีกรรมของคนในรุ่นปัจจุบัน มี 6 กลุ่ม ได้แก่ ความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ความเชื่อในช่วงวัยเด็กความเชื่อในช่วงวัยรุ่น ความเชื่อในช่วงวัยผู้ใหญ่ ความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยความเชื่อเกี่ยวกับการตายและหลังการตาย ส่วนปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อในพิธีกรรมดำรงอยู่ ได้แก่ การอบรมจากครอบครัว ระบบเครือญาติ ความสามัคคี เศรษฐกิจการปกครองการศึกษาและเทคโนโลยีสื่อสารส่วนปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อในพิธีกรรมเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การปลูกฝังความเชื่อและค่านิยมในครอบครัว สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจเหตุการณ์บ้านเมือง การศึกษา ความเชื่อทางพุทธศาสนา ความเจริญทางการแพทย์และเทคโนโลยี
The objectives of this study are 1) to study background knowledge oftraditional beliefs of Thai Song Dam people’s rites at Nongprong sub-district,Khaoyoi District, Phetchaburi Province 2) to study beliefs about rituals ofThai Song Dam people’s rites at Nongprong sub-district, Khaoyoi District,Phetchaburi Province and 3) to analyze factors of existence and change onbeliefs in Thai Song Dam people’s rites at Nongprong sub-district, KhaoyoiDistrict, Phetchaburi Province. The data collected by interview with theritual leaders and villagers aged over 60 years to investigate the belief ofinterviewee’s ancestors and to investigate the beliefs of young generation.A qualitative research was conducted and the findings presented bydescriptive analysis.
The result found that the background knowledge of traditional beliefswere ghost, Khwan, regulations, taboos and “Mod Mon” (incantation).
The beliefs of young generation were divided into 6 major groups:birthritual belief, childhood belief, teenage belief, adult belief, illness belief anddeath and after death belief.
Factors affected existence of the ritual beliefs were family raising,the kinship system, harmoniousness, economy, government, education, andinformation technology. The factors affected the change of the ritual beliefswere instilling faith and family values, community environment, economy,politic, education, Buddhist beliefs, and progress in medicine and publichealth.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น