รัฐกับสิทธิในทรัพย์สินจากกฎหมายตราสามดวง Government and Property Rights under the Three Seals Law
Main Article Content
Abstract
งานศึกษาเรื่องรัฐกับสิทธิในทรัพย์สินจากกฎหมายตราสามดวง พบว่ารัฐมีการจัดสรรทรัพย์สินตามโครงสร้างสังคมคือระบบศักดินา ทำให้เจ้านายและขุนนางมีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินมากกว่าไพร่และทาส อย่างไรก็ตามรัฐก็มีมาตรการทางกฎหมายในการจัดการที่ดิน ทำให้คนทุกสถานภาพสามารถที่จะได้มาซึ่งที่ดินทำกินเพื่อประโยชน์ของรัฐ ขณะเดียวกันรัฐมีมาตรการในการดูแลการครอบครองไพร่ทาสผู้คนของเจ้านายและขุนนาง ที่จะควบคุมและป้องกันแรงงานทาสมิให้มีการบาดเจ็บ สูญเสีย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการผลิตและได้มาซึ่งสินค้าส่วนการจัดการมรดก รัฐมีมาตรการที่จะนำทรัพย์สินบางส่วนของเจ้านาย ขุนนางและเศรษฐีคหบดี กลับคืนสู่พระคลังของรัฐ เห็นได้ว่า รัฐเข้ามีส่วนในการจัดการสิทธิในที่ดิน ไพร่ทาส และจัดการมรดกเพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงของรัฐ
According to the study on the government and the property rightsunder the Three Seals Law, the government allocated properties based onthe social structure of the Sakdina system, making lords and nobles have morerights in property possession than commoners and slaves did. However, the government had legal measures for land management, enabling people ofall statuses to acquire land to assure the government benefits. Meanwhile,the government applied measures to govern the possession of commonersand slaves by the nobles and the lords to control and prevent the slave laborfrom injuries and losses, which was beneficial for production and productacquisition. For the administration of estates, the government had measuresto bring some parts of the nobles, the lords and the wealthy people’sproperties back to the treasury. These measures have indicated that thegovernment took part in the administration of rights in land, commoners andslaves as well as estates to strengthen the government wealth and stability.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น