การบริหารจัดการวิทยุชุมชนสมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออกและวิทยุชุมชนบ้านหัวโกรก จังหวัดชลบุรี Management of Eastern Farmers Association Community Radio and Ban Huakrok Community Radio, Chon Buri Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมและแสวงหาวิธีการบริหารจัดการวิทยุชุมชนที่ดี ของสถานีวิทยุชุมชนสมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออกและสถานีวิทยุชุมชนบ้านหัวโกรก ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการวิทยุชุมชนทั้ง 2 สถานี การศึกษาเอกสาร และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการด้านบุคคล มีจำนวนคนที่สอดคล้องกับจำนวนรายการและเหมาะสมกับประเภทรายการ การบริหารจัดการงบประมาณ มีแผนการใช้งบประมาณที่ชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ ส่วนลักษณะการบริหารจัดการผู้ฟังได้ให้ผู้ฟังขอเพลง แจ้งข่าวสาร และสัมภาษณ์ในรายการ การบริหารจัดการงานเป็นแบบกึ่งทางการ ทำให้การทำงานคล่องตัว การมีส่วนร่วมได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งเป็นคณะกรรมการและเป็นผู้ดำเนินรายการ ส่วนแนวทางการบริหารจัดการที่ดีนั้น ควรมีกลยุทธ์แบบมีพลวัตรทั้งเชิงรุกและเชิงรับ มีการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการ และเน้นการสื่อสารแบบสองทาง
The research aims at studying a management system, the involvement of the public in radio programs and also finding out the right method for the management system of the Eastern Farmers Association Community Radio and Ban Huakrok Community radio station, Chonburi Province. Data collection is conducted qualitatively by employing an in-depth interview with a group of the committees from the two radio stations as a sampling group. Document analysis and a non-participating observation are also employed. The research has found that Human Resource unit has the right number of a radio staff. Also the stations have the right number of a radio programs as well as the suitability of the type of the program. In terms of a budget allocation, a budget plan is managed with transparency. In the broadcasting unit, the stations let their audience request for the music by phoning in, interact with the staff and inform news.In general, the stations’ management system is semi-formal which makes the system flexible. Moreover, the stations are open for the public to participate either by taking part as a committee and running the program.For a good management style, authority should be decentralized. Also,a two-way communication should be applied between the radio stations and the public.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น