ปะคำ: วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนเลี้ยงช้างภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

Main Article Content

เภา บุญเยี่ยม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการปรับตัวของคนเลี้ยงช้างบ้านปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งเปรียบเทียบกับกลุ่มคนเลี้ยงช้างบ้านค่ายหมื่นแผ้ว จังหวัดชัยภูมิ และคนเลี้ยงช้างบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach)

ผลการวิจัยพบว่า บ้านปะคำเป็นกลุ่มชาวไทยโคราชหรือไทยเบิ้งมีวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างมายาวนานร่วม 200 ปี การปิดป่าของกัมพูชา การลดลงของพื้นที่ป่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และข้อจำกัดในการถ่ายทอดวิชาของครูบาช้าง เป็นอุปสรรค์สำคัญต่อการดำรงอยู่และการปรับตัวของคนเลี้ยงช้างบ้านปะคำ เมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการคล้องช้างของชาวลาวบ้านค่ายหมื่นแผ้ว จังหวัดชัยภูมิ และชาวส่วยบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ พบว่า วิชาคชศาสตร์ของ ทั้งสามแห่งมีลักษณะคล้ายกันจึงเชื่อว่าน่าจะมีรากฐานมาจากตำราฉบับเดียวกันด้านการปรับตัวพบว่า คนเลี้ยงช้างบ้านตากลางปรับตัวได้ดีกว่าชุมชนอื่น โดยเฉพาะการยอมรับผู้หญิงมาเป็นคนเลี้ยงช้างซึ่งในอดีตจะห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด ในขณะที่คนเลี้ยงช้างบ้านปะคำมีการปรับตัวได้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกันทั้งสามชุม ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles