วัดเทพพุทธาราม: ภาพสะท้อน วิถีชีวิต ความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน จังหวัดชลบุรี Dhepbhudtharam: Reflection of the Way of Life and Believes of Thai-Chinese in Chon Buri
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติและพัฒนาการของวัดเทพพุทธาราม (เซียนฮุดยี่) อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (2) ศึกษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน บริเวณวัดเทพพุทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่มีอิทธิพลต่อศิลปกรรมของวัดเทพพุทธาราม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitativeapproach) ผลการศึกษาพบว่า วัดเทพพุทธาราม หรือ “วัดเซียนฮุดยี่” เป็นวัดฝ่ายมหายานสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยแห่งแรกของจังหวัดชลบุรี คำสอนมาจากนิกายเสียมจง หรือ นิกายฌาน หรือ เซน สาขาหลินฉี (วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นศาสนสถานที่สร้างโดยพระเถระจีนนิกาย ฉายาว่า “พระอาจารย์ตั๊กฮี้” ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ศิลปกรรมและพิธีกรรมของวัด สะท้อนภาพวิถีชีวิตความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่รอบวัด ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) ความเชื่อในเรื่องบุญกรรมตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา (2) วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจและความเชื่อของคนในชุมชน (3) ประเพณีและพิธีกรรมเป็นแบบแผนการรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมงามของชุมชน
Abstract
The objectives of the research were to study (1) the history anddevelopment of Dhepbhudtharam Monastery (Sian Ehud Yi), (2) Thailand’s Chinese descendants’ lifestyle and culture, influencing of art andarchitecture in Dhepbhudthara, which included their mindset and beliefsof Thailand’s Chinese descendants around Dhepbhudtharam in Mueang District, Chon Buri Province., and (3) the guidelines to preserve art andculture of Dhepbhudtharam Monastery in Mueang District, Chon Buri Province.
The result showed that Dhepbhudtharam Monasteryor was the first monastery of the Buddhist Mahayana Affiliation in Chon Buri Province. The teaching derived from Siam Jong Doctrine, Chan Doctrine, Zen Doctrine,or Lin Qi Branch (meditation). The ancient religious, built by the priest hisname "Venerable Tak Hi", was located in Mueang District, Chon Buri Province. The symbolic meaning of culture and art in the architecture reflected mindset and beliefs of Thailand’s Chinese in Chon Buri Province. The Thai - Chinese residents were influenced of artistic and cultural architecture, they support by donating land, money to preserve the building. This make the monastery magnificent so that it could be the center of people’s devotion. The body of the dragon holding a fire pearl on the ridge of the roof was the combination of the characteristics in sacredanimals such as the lizard or crocodile’s body, snake’s tail, fish scale, deer’s antler, tiger's mouth, camel’s head, hawk’s claws. These symbolic were believed to protect people and destroy ghost and evil. The fire pearlwas believed to symbol that could prevent fire.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น