การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีน ด้วยตนเองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Using Information Technology for Chinese Language (Mandarin) Self-Learning in Students from Faculty of Humanities and Social Sciences at Burapha

Main Article Content

กนกพร ศรีญาณลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทัศนคติ พฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเอง ของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเสนอรูปแบบการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเอง ที่เหมาะสมสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเอง ส่วนที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อเสนอรูปแบบการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเอง ที่เหมาะสมสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษาผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองโดยรวม อยู่ในระดับมาก

นิสิตที่มีเพศต่างกันมีทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองไม่แตกต่างกันนิสิตที่มีชั้นปีต่างกันมีทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รูปแบบการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองที่เหมาะสมสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา ควรเป็นการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อเสริมจากการเรียนในห้องเรียน โดยผู้สอนเป็นผู้แนะนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาทักษะทางด้านภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Abstract

This research aims 1) to examine and to compare the students’attitudes and behaviors in using information technology for Chineselanguage self-learning at the Faculty of Humanities and Social Sciences,Burapha University, and 2) to propose a appropriate guideline for makinguse of information technology for Chinese language self-learning of thestudents in university level. Mixed methods are employed. A quantitativeresearch method was employed to examine students’ attitudes andbehaviors toward self-learning in the first part of the study. In the secondpart, qualitative research method is applied to propose a guideline formaking use of information technology for Chinese language self-learning.The findings show that the levels of attitudes and behaviors arerated high. The difference of gender shows no significant difference inthe levels of attitudes and behaviors. The difference of university yearsshows difference in the levels of attitudes and behaviors at the statisticalsignificance at the .05 level.

Teachers play an important role in recommending the informationtechnology materials which are suitable for the students’ proficiency to useas self-learning supplementary sources out of class.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles