พฤติกรรมและจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา Online Social Networks Behavior and Ethic of Students in Burapha University
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมและจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน633 คน และรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ t-Test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จากเฟซบุ๊กมากที่สุด โดยเริ่มต้นใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์จากการศึกษาด้วยตนเอง และพบว่าบุคคลที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ คือ เพื่อนในชั้นเรียน โดยมีวิธีการพิจารณาเลือกรับเพื่อนจากความรู้จักและคุ้นเคยกับบุคคลคนนั้นอยู่ก่อนแล้วมากที่สุด ระยะเวลาการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4 - 5 ชั่วโมง/วัน และใช้งานมากที่สุดช่วงเวลา 20.00 -24.00 น. โดยใช้บริการผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คที่หอพักเพื่อรับรู้ข่าวสารด้านจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า นิสิตมีระดับจริยธรรมด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเป็นเจ้าของอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับน้อย
Abstract
This study is designed to be mixed methods research. Its objective is to study behavior and ethics in using social network of undergraduate students, Burapha University. The research gathered quantitative data with random sampling from 633 students and also qualitative data with group discussion 40 students. The statistics in this research which are frequency, percentage and standard deviation. As for the hypothesis testing to compare the sample mean by using t-Test and F-test. The research found that the majority students used Facebook. The students got started to use the social network by themselves and their social network account connected to friends in classes. As for consideration to be friends on the social network, the students accepted acquaintances to be the first priority. The period of using the social network found that the students spent time 3-4 hours per day and used the social media at 08.00 pm to 00.00 am. The students accessed their social network account at dormitories and the purpose of using the social network for browsing information.
As for the ethics to use the social network found that the moral of students in term of accuracy was in the high level, privacy and ownership were in the middle level and reachable performance was in the low level.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น