ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการข่าวสาร การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนอกจากนี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน 8 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกนักศึกษาจำนวน 24 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาจำนวน 400 ตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 424 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษาอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยโดยรวมของการเปิดรับข่าวสารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยโดยรวมของทัศนคติต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับดี และค่าเฉลี่ยโดยรวมของการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับมากเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ความต้องการข่าวสาร การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Abstract
The objectives of this study were to examine the information needs,media exposures, knowledge and understanding, and attitudes toward entering the ASEAN Economic Community (AEC). Moreover, the researcher would like to investigate the factors affecting the readiness preparation for AEC of the undergraduate students from eight private universities in Bangkok Metropolitan Region. The researcher formulated the mixed-methods approaches; the qualitative study, by using the in-depth interviews with the twenty four undergraduate students, and the quantitative study, by collecting the data from four hundred undergraduate students. The total participants are four hundred and twenty-four undergraduate students. The research findings showed that the total mean of information needs regarding AEC of participants was at the high level. The total mean of media exposures and knowledge and understanding about AEC were at the moderate level. In addition, the total mean of attitude toward AEC was at the high level and the total mean of the readiness preparation to enter AEC was at the high level as well. Furthermore, the results of this study found that the information needs, media exposures, knowledge and understanding, and attitudes were factors affecting the readiness preparation for the AEC of the undergraduate students.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น