นัยยะแฝงภายใต้การปั่นจักรยานในมุมมองการสื่อสาร The Implications of Bicycling from a Communications Perspective
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีความประสงค์ชี้ชวนผู้อ่านพิจารณาจักรยานและการปั่นจักรยานในฐานะผลผลิตทางวัฒนธรรมที่มีความหมายมากไปกว่าตัวมันเอง เมื่ออาศัยแนวคิดสัญวิทยา (Semiology) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ จะพบว่า กิจกรรมนี้มีความหมายโดยนัย (Connotative meaning) ที่แฝงไปด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์ในสังคมด้านหนึ่งความหมายดังกล่าวเป็นผลจากอิทธิพลการสื่อสารโดยสื่อมวลชน ทว่าอีกด้านหนึ่งก็เป็นพื้นที่เปิดให้ผู้คนได้สร้างสรรค์ความหมายที่หลากหลายไปตามภูมิหลังของแต่ละคน การปั่นจักรยานที่เต็มไปด้วยความหมายได้ถูกนำไปใช้เป็นสื่อโดยสภาวะ (By mode) ทำหน้าที่สิ่งบ่งชี้อัตลักษณ์ (Identity marker) ในการสื่อสารเพื่อสร้างตัวตน และถูกยกให้กลายเป็นศูนย์กลางสร้างสำนึกร่วมในการสื่อสารเพื่อกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคม อาจกล่าวได้ว่าการปั่นจักรยานมิได้เป็นเพียงกิจกรรมสามัญในชีวิตประจำวันที่ไร้เดียงสา หากแต่ท่วมท้นไปด้วยมิติการเมืองเรื่องวัฒนธรรมที่มีพลวัตรไม่หยุดนิ่ง
Abstract
The objective of this article is to invite readers to consider bicycles and bicycling as cultural products that are more meaningful than what they appear. Based on the concept of semiology as the analytical framework, it was found that bicycling holds connotative meanings underlying the social relationship. Such meanings are the result of the influence of communication media. On the other hand, it is an open space for people to create various meaning from their diverse background. The various meanings of bicycling are used as media by mode for functioning as anidentity marker in communications to create an identity, and are treated as a center of awareness building in communications for social movement. This implied that bicycling is not only a common activity of naïve everydaylife, but is also overwhelmed by dynamic cultural aspect of political dimension.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น