การวิจัยและพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำโดยทุนทางสังคม Research and Development Community Leadership in the Watershed Forest Resource Management with Social Capital

Main Article Content

ปวีณา งามประภาสม
วิไลลักษณ์ พรมเสน
ปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำโดยทุนทางสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้นำในการจัดการป่าต้นน้ำภายใต้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ภายของชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ ภายใต้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อให้ผู้นำชุมชนเกิดการพัฒนาแนวทางในการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำตามหลักการพึ่งตนเอง

ป่าต้นน้ำแม่ตาล เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่ตาลที่ไหลผ่านชุมชนกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บ้านปางปงปางทราย บ้านแม่ตาลน้อย และบ้านห้วยเรียน ที่ประชาชนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตและประกอบอาชีพที่ผูกพันกับป่า แต่เวลาที่ผ่านมาป่าต้นน้ำมีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ปัญหาตะกอนทราย ไฟไหม้ป่า การชะล้างพังทลายของดินจากปัญหาดังกล่าวทำให้ชุมชนต้องดำเนินการแก้ไข แต่ผู้นำชุมชนประสบปัญหาเกี่ยวกับศักยภาพในด้านการบริหารจัดการป่าต้นน้ำ

ดังนั้น กลุ่มผู้นำได้เสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของตน คือ 1) ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ 2) ประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น 3) จัดอบรมให้ความรู้และ 4) ปรับปรุงพฤติกรรม พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มผู้นำชุมชนมีแนวทางในการจัดการป่าต้นน้ำที่เหมาะสมตามความสามารถปัญหาและบริบทชุมชนและประชาชนมีความพึงพอใจต่อศักยภาพผู้นำเพิ่มขึ้น และผู้นำชุมชนต้องมีการพัฒนา แก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพมากขึ้น

Abstract

The study on community leadership development in the watershed forest resource management with social capital attempted to develop the community leaders’ potentials in the watershed forest management with social capital through learning process under the participatory action research in order that the community leaders are able to develop the guidelines of watershed forest management according to the self-sustainable theory. Mae Tarn watershed forest is the resource of Mae Tarn waterway which flowing through the sample groups: Barnpangpangsai Village, Barnmaetarnnoi Village, and Barnhuayrian Village where the most villagersare bound with the forest by keeping the wilding for living and trading. However, throughout the past time, the watershed forest has been changedsuch as sedimentary sand problem, bush fire and soil erosion. Therefore, the community leaders were obstructed with the lack of potentials in the watershed forest management.                       Thus, the community leaders proposed the guidelines to manage the watershed forest; that were 1) the study of prototype community, 2) the cooperation with the local authorities, 3) the training relating to the variety of forest management, and 4) the behavior improvement self-development. After performing these activities, the community leaders had the guidelines in the watershed forest management as their potentials, problems and context of the community.                                                                                    According to activity performance, the populations were satisfied to the community leaders’ potential in watershed forest management in the fundraising competence. However, the community leaders should be developed. Also, they should solve the problems that will happen to have more potential and proficiency.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles