ความรู้ทางการเงิน: ตัวกำหนดและผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมการออม Financial Literacy: Determinants and its Implications for Saving Behavior
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยบูรพาบางแสน และพนักงานสัญญาจ้างเหมาแรงงาน (กลุ่มแม่บ้าน) จำนวน 346 คน มีวัตถุประสงค์ คือ 1) วัดระดับความรู้ทางการเงินของบุคลากรฯ 2) ศึกษาปัจจัยที่กำหนดระดับความรู้ทางการเงินของบุคลากรฯ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการออมของบุคลากรฯ
การวิจัยกึ่งทดลอง เป็นการทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มแม่บ้าน โดยแยกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการออมของกลุ่มทดลองด้วยการอบรมให้ความรู้ทางการเงินและประเมินผลการอบรมฯ
ผลการวิจัยเชิงสำรวจ พบว่า ความรู้ทางการเงินในหมวดความรู้พื้นฐานทางการเงินอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหมวดพฤติกรรมทางการเงิน และหมวดทัศนคติทางการเงินจากการใช้วิธี OLS พบว่า ปัจจัยด้านประชากรมีผลต่อระดับความรู้ทางการเงินและระดับความรู้ทางการเงินที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับการออม
ผลการวิจัยกึ่งทดลอง การประเมินระดับความรู้ทางการเงินหลังจากมีการอบรมฯให้กับแม่บ้านกลุ่มทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยในหมวดความรู้พื้นฐานฯและหมวดทัศนคติฯ ของแม่บ้านกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นในหมวดพฤติกรรมฯ ที่ไม่พบความแตกต่าง ส่วนการประเมินความตั้งใจออมและการออมจริง พบว่า คะแนนของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
Abstract
This research is divided into two parts as follows: The survey research: The samples consisted of 346 government officers and contract workers (janitors) in Burapha University. The objectives of this survey research were 1) to measure the level of financial literacy; 2) to examine the determinants of financial literacy; and 3) to analyze the factors affecting saving behavior.
The quasi-experimental research: The Pretest Posttest Control Group Design was conducted. The target group is the janitors. They were divided into two groups: an experimental group and a control group. There were 15 janitors in each group. The objectives were to improve the experimental group’s saving behavior by providing a financial literacy training and to evaluate their performance.
The findings of the survey research revealed that: In the three components of financial literacy, the level of financial knowledge score was lower comparing with financial behavior, and financial attitudes. With the OLS method, it was found that socio-demographics factors affected the level of financial literacy. Importantly, enhancing financialliteracy was one of the major factors increasing savings.
The findings of the quasi-experimental research revealed that: After the development training strategy was applied to the experimental group, it was found that their overall financial literacy, financial knowledgeand financial attitudes were different significantly from those of the control group but non-significantly in financial behavior. It was also found that their intention to save money and actual savings were not different from those of the control group at a significant level.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น