กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษากลุ่มซอสพริกป้าพุ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี The Process of the Participatory Development on a Community Enterprise: A Case Study of Pa Pu Chili Sauce, Bangphra Sub-district, Si Racha...

Main Article Content

สุธิดา แจ้งประจักษ์

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มซอสพริกป้าพุด้วยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ และปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม การประชุมระดมสมอง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และมีแนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วมมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มและศักยภาพของกลุ่ม พบว่า กลุ่มมีศักยภาพด้านคุณภาพสินค้าและแกนนำมีความสามารถ แต่มีปัญหาด้านต้นทุนการตลาด การเปลี่ยนแปลงในชุมชน 2. การวางแผนพัฒนา พบว่า กลุ่มมีแผนเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ภายนอก และเพิ่มสื่อประชาสัมพันธ์ และแผนการขยายธุรกิจใหม่ “เมล่อน คุณผ่อง” 3. การนำแผนไปปฏิบัติ พบว่ากลุ่มทำกล่องเพื่อใช้เป็นบรรจุภายนอกและสร้างโรงเรือนเมล่อนได้ตามแผนที่กำหนด 4. การติดตามและประเมินผล พบว่า แกนนำมีความสามารถในการจัดการวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันส่วนปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ สมาชิกมีส่วนร่วมไม่ครบทุกขั้นตอน ขาดการเตรียมความพร้อมให้แก่ทีมวิจัย ระดับความรู้สามารถในจัดการวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกแตกต่างกัน ขาดองค์ความรู้และขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

Abstract

This study focuses on the development of Pa Pu Chili Sauce Group’s proficiency in managing a community enterprise through participatory action research. It also aims to study the process, and problems and obstacles in participatory development of the community enterprise. The data were collected by group discussion, brainstorm, in-depth interviews, participatory observation, and guided questions.The research found that the process of the participatory development on a community enterprise comprised 4 stages. First, the analysis of the group’s proficiency and situations suggested that the group contained proficiency in producing quality products, and its leaders were capable for working; however, there were problems in cost, marketing plans, and changes in the community. Second, planning stage found that the group proposed to develop its packages, and planned to produce another line ofproduct-melon; moreover, it planned to use more media for publication. Third, the implementation of the plans revealed that the group completed the outer packages in time, and it initiated another product-melon. Forth, the follow-up and evaluation showed that the Group leaders gained proficiency in managing the community enterprise, and the Group also learned to knowledge sharing process.

Problems and obstacles revealed that the group’s members did not participated all stages of the process, the research team was not well-prepared, the group’s members maintained different levels of knowledge on community enterprise, the group lack knowledge and experts.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles