การสร้างลัทธิจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ของอังกฤษในสมัยเบนจามิน ดิสเรลี The Establishment of New British Imperialism of Benjamin Disraeli’s Period
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
เบนจามิน ดิสเรลี เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมรวมทั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษถึงสองสมัย ในช่วงภายใต้การบริหารประเทศของเขา ดิสเรลีสร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศโดยเฉพาะการขยายลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่ ได้แก่ อังกฤษอย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบว่ารัฐบาลในช่วงสมัยของดิสเรลีนั้นมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับราชสำนักอย่างมาก ทำให้การขยายลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ของพรรคอนุรักษ์นิยมเดินคู่ขนานไปกับการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างดิสเรลีกับสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นไปอย่างราบรื่น ความสำเร็จในการสร้างลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ของดิสเรลีมีปัจจัยสำคัญมาจากความสำเร็จทางการทูตและการต่างประเทศของรัฐบาลดิสเรลี เห็นได้จากกรณีการครอบครองคลองสุเอชในอียิปต์ การสกัดกั้นอิทธิพลของรัสเซียในคาบสมุทรบอลข่านและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ซึ่งความสำเร็จในประการหลังนี้เป็นผลจากการประชุมที่กรุงเบอร์ลิน ซึ่งในการประชุมครั้งนั้นดิสเรลีประสบความสำเร็จในการเจรจากับหลายชาติตามเป้าหมายที่ต้องการสามารถประกาศเกียรติภูมิให้อังกฤษมีสถานะเป็นผู้นำโลกเมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
Abstract
Benjamin Disraeli a leader of conservative party and two-period of British prime minister. Under his rule, Disraeli had a great feat, especially he could expand territory to Britain. It is; however, recognized that Disraeli’s government had far more a relationship with royal court. The relation between Disraeli and Queen Victoria was rather unwavered. His achievement in making new imperialism had also rooted from foreign policy. The diplomatic success of Disrael’ administration can be also noticed from the occupation of Suez canal in Egypt, the interception to Russia’s influence His achievement on foreign policy; moreover, was viewed when he attended the Berlin convention. Disraeli obtained the accomplishment to negotiation with other European leader, announcing the British prestige to be the world leader at the endof 19th century.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น