การเคลื่อนไหวร่างกายในการแสดงนาฏยศิลป์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเคลื่อนไหวที่ดีคือหัวใจของการแสดง พื้นฐานการเคลื่อนไหวที่ดีก็จะสร้างและออกแบบการแสดงได้ดีตามไปด้วย ในทางนาฏยศิลป์ไทยเพลงช้าเพลงเร็ว ถือว่าเป็นเกณฑ์มาตรฐานของนาฏยศิลป์ไทย เพราะการศึกษานาฏยศิลป์ไทยจะต้องเริ่มจาก การฝึกหัดแม่ท่าจากเพลงช้า เพลงเร็ว ตามลำดับ ซึ่งเป็นข้อกำหนดอยู่ในหลักสูตรของการศึกษาวิชานาฏยศิลป์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นผู้เขียนจึงมุ่งเน้นศึกษา ทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและทฤษฎีการเคลื่อนไหวร่างกายตะวันตก หลักการของการเคลื่อนไหวร่างกายของตัวพระในเพลงช้าทางด้านนาฏยศิลป์ไทย ผลการศึกษาจากศึกษาทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและทฤษฎีหลักการของ การเคลื่อนไหวร่างกายของตัวพระในเพลงช้าทางด้านนาฏยศิลป์ไทย พบว่าทิศทางจุดหมายปลายทางของการเคลื่อนไหว (Direction Destination) อวัยวะลักษณะ การเคลื่อนไหว ส่วนของร่างกาย (Body Part) และ อากาศวิถี (Space) เป็นไปใน 3 ทิศทาง ในท่วงท่าที่รำในแต่ละจังหวะท่วงท่า ซึ่งมีลักษณะทั้งที่เรียบง่าย สลับซับซ้อน และรวดเร็ว ท่าทางของขาและเท้าไม่ผูกพันกับท่าทางของแขนและมือจะช่วยเพิ่มความสมดุลในการร่ายรำ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับกล้ามเนื้อ ก่อนการเรียน หรือการแสดง
Article Details
References
ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระแบบหลวง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2466). ตำราฟ้อนรำ. พระนคร โสภณพิพรรฒนากร.
มัทนี รัตนิน. (2555). ศิลปะการแสดงละคอน หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม. กรุงเทพ :
สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์.
ลมุล ยมะคุปต์. (2526). คุณานุสรณ์ ในการเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานเพลิงศพ
นางลมุล ยมะคุปต์ ต.ม. กรุงเทพมหานคร : ประยูรวงศ์.
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2551). นาฏยศิลป์หลักกายวิภาคและการเคลื่อนไหว. กรุงเทพ :
สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
แสง มนวิทูร. (2541). นาฏยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.