คุณภาพชีวิตของนักศึกษาผู้พิการในมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

อ.ฐิตินันทน์ ผิวนิล
โสรญา แสงมาน
กัญญาภัทร แก้วคูนอก
ทิติยา วงศ์นอก
มุทิตา สุนทรัตน์
สุวรรณี สุขเหลื่อง
อาทิตยา มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาผู้พิการในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตนักศึกษาผู้พิการประเภทต่าง ๆ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตทั้ง 5 ด้านของนักศึกษาผู้พิการในมหาวิทยาลัยรามคำแหง การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาผู้พิการจำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง การอ่านแบบสอบถามให้ฟังสำหรับผู้พิการทางสายตา และการตอบแบบสอบถามออนไลน์สำหรับนักศึกษาผู้พิการที่ไม่ได้มามหาวิทยาลัย การวิจัยนี้มีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2561 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมคุณภาพชีวิตของนักศึกษาผู้พิการในมหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตออกเป็น 5 ด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนด้านการได้รับการสนับสนุน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ทั้งนี้ คุณภาพชีวิตทั้ง     5 ด้านนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า 0.001    การวิจัยนี้ สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการสนับสนุนดูแลนักศึกษาผู้พิการให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการส่งเสริมดูแลด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะกรรมการสงเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแหงชาติ. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่่ 5 พ.ศ. 2560 - 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 จากhttp://www.oic.go.th/FILEWEB/
CABINFOCENTER28/DRAWER042/GENERAL/DATA0000/00000138.PDF.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. (2552, 8มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 80 ง. หน้า 45-47.
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. (2559). กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 49 (2): 171-184.
รำจวน เบญจศิริ. (2560). ศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการ : กรณีศึกษานักศึกษาพิการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 10(1) : มกราคม-เมษายน 2561, หน้า 301-325.
วรรณพร รัตนพันธุ์. (2545). เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพิการทางร่างกายหรือความ เคลื่อนไหวที่ศึกษาในสถาบันระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชางานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วันทนา สวนเศรษฐ. และสุวพัชร์ ช่างพินิจ. (2559). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการให้บริการนักศึกษาพิการของ ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการในระดับอุดมศึกษา. วารสารครุพิบูล. 3 (1): 34-48. https://doi.org/10.14456/edupsru.2016.4
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และจรัมพร โห้ลำยอง. (2557). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2556). ประวัติความเป็นมา ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 จาก http://www.stdaffairs.ru.ac.th/dss/
index.php/2013-10-15-11-26-58.
________. (2560). ข้อมูลนักศึกษาพิการที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษา ปีการศึกษา 2559.
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 จาก http://www.stdaffairs.ru.ac.th/dss/
download/DSS%20database%2060.pdf
สโรชา มังคลา. (2554). มาตรฐานขั้นต่ำในการปรับปรุงหอพักในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อนักศึกษาพิการ. วิทยานิพนธ์ เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชา ภูมิสิทธิพร. (2555). การศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาพิการที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 18 (1): 23-36.
Cherry K., (2018, November 11). The Five Levels of Maslow's Hierarchy of Needs: How Maslow's Famous Hierarchy Explains Human Motivation. Retrieved from https://www.verywellmind.com/what-is-maslows-hierarchy-of-needs-4136760.
Hinkle, D. E., Wiersma, W., & Jurs, S. G. (2003). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston, Massachusetts: Houghton Mifflin Boston.
Maslow, A.H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper Collins.
UNESCO. (1978). Indicators of Environmental Quality and Quality of Life. Paris: UNESCO.
United Nations. (2009). Human Development Report 2009. New York, USA: United Nations.
World Health Organization. (1996). WHOQOL-BREF: introduction, administration, scoring and generic version of the assessment: field trial version, December 1996 (No. WHOQOL-BREF). Geneva: World Health Organization.