คำศัพท์ประกอบอาหารและวัฒนธรรมการบริโภคในตำราอาหารไทย : ศึกษาจากตำรับสายเยาวภาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท

Main Article Content

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้
นิกร สระครบุรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาตำรับสายเยาวภา ของพระองค์เจ้า     เยาวภาพงศ์สนิท 2 ประการ ประการแรก คือ เพื่อศึกษาคำศัพท์ประกอบอาหารในตำรับสายเยาวภา ประการที่สอง เพื่อศึกษาวัฒนธรรมจากคำศัพท์ประกอบอาหารในตำรับ   สายเยาวภา ผลการศึกษาพบว่า ตำรับสายเยาวภาของพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ปรากฏคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการประกอบอาหาร 5 ประเภท ได้แก่ คำศัพท์ประกอบอาหารที่เกี่ยวกับกับชื่ออาหาร คำศัพท์ประกอบอาหารที่เกี่ยวกับเครื่องปรุง คำศัพท์ประกอบอาหารที่เกี่ยวกับวัตถุดิบ คำศัพท์ประกอบอาหารที่เกี่ยวกับลักษณะการประกอบอาหารให้สุก และคำศัพท์ประกอบอาหารที่เกี่ยวกับอุปกรณ์การทำครัว ซึ่งคำศัพท์ประกอบอาหารเหล่านี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทย ด้านการบริโภคอาหารอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กาญจนา แก้วเทพ. สื่อและวัฒนาธรรมศึกษา, รัฐศาสตร์สาร 23 (2545) : 25-30.
โกสินทร์ ปัญญาอธิสิน. (2552). การศึกษาคำเรียกการทำอาหารในภาษาถิ่นเหนือตาม
แนวภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชา
ภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปรม สวนสมุทร. ตำราอาหารชาววัง : นวัตกรรมโภชนียประณีต, นวัตกรรมสื่อสารมวลชน
10 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) : 150-159.
พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท,พระเจ้าบรมวงศ์เธอและคนอื่น ๆ . (2478). ตำรับสายเยาวภา.
กรุงเทพฯ : สายปัญญาสมาคมในพระบรมราชินูปถัมภ์จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ใน
งานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท.
พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท,พระเจ้าบรมวงศ์เธอและคนอื่น ๆ . (2555). ตำรับสายเยาวภา.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สายปัญญาสมาคมในพระบรมราชินูปถัมภ์จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ใน งานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท.
ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2559). คำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราแม่ครัวหัวป่าก์ของท่านผู้หญิง
เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ : ภาพสะท้อนด้านภาษาและวิถีชีวิตคนไทย. งานวิจัยคณะ
ศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วุฒินันท์ สุนทรขจิต. (2551). ร้านอาหารญี่ปุ่นสมัยใหม่ : พื้นที่การสื่อสารความหมาย
อัตลักษณ์ และความเป็นญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2550). คำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราอาหารของ ม.ล.เติบ ชุมสาย
และในตำราอาหารเว็บไซต์ปลาแดกดอทคอม. ในรวมบทความวิจัย ยำใหญ่ใส่
สารพัด : วัฒนธรรม อาหารไทย–เทศ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2560). เมื่อ “ตำรากับข้าวชาววัง” ออกสู่โลกกว้าง : กำเนิด
และพัฒนาการของ “ตำรากับข้าวชาววัง” ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการตั้ง
โรงเรียนสตรี.วรรณวิทัศน์, 2560 (ฉบับที่ 1), 353-384.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. (2548). ความหมาย
แนวคิดและ ประเด็นที่เกี่ยวกับ “วัฒนธรรม”. http://www.openbase.in.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561.