หน้าที่ทางการเมืองของเพลงในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย

Main Article Content

ชาญชัย คงเพียรธรรม

บทคัดย่อ

สมัยกัมพูชาประชาธิปไตยถือเป็นยุคมืดในหน้าประวัติศาสตร์ของกัมพูชา เพราะตลอดระยะเวลา 3 ปี 8 เดือน 20 วัน ที่เขมรแดงปกครองประเทศได้ทำลายวัฒนธรรมจนสิ้นซาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนประการหนึ่งคือ บทเพลงต่าง ๆ ที่เคยทำหน้าที่สร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง  ในช่วงก่อนหน้าที่เขมรแดงจะขึ้นมาปกครองประเทศนั้นถูกห้ามนำมาขับร้อง ส่วนศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงในสมัยสังคมราษฎร์นิยมและสมัยสาธารณรัฐต่างถูกเขมรแดงสังหารเป็นจำนวนมาก


            บทเพลงที่ขับขานกันในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย ล้วนแต่เป็นบทเพลงที่เขมรแดงสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง วงการเพลงเขมรจึงเข้าสู่ยุคมืดเนื่องจากผู้สร้างงานและผู้เสพงานขาดปฏิสัมพันธ์กัน เพลงในยุคนี้จึงทำหน้าที่เพียงเพื่อสร้างความรู้สึกชาตินิยม สร้างขวัญกำลังใจแห่งชาติ กระตุ้นสตรีให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ กระตุ้นนโยบายด้านเศรษฐกิจของชาติให้ขยายผลเป็นรูปธรรม และปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองให้แก่ประชาชน.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสัน
เพรสโปรดักส์.
งวล ญิล, ผู้แต่ง. ภูมิจิต เรืองเดช, ผู้แปล. (2548). จิตวิญญาณมารดาธิปไตยในสังคม
เขมร. บุรีรัมย์: วินัย.
จินดา ดวงจินดา. (2521). รัฐธรรมนูญกัมพูชาประชาธิปไตยและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ
: แสงรุ้งการพิมพ์.
จุลชีพ ชินวรรโณ. (2533). “การปฏิรูปในสาธารณรัฐประชาชนจีน และผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงในยุโรปตะวันออก” ใน การเปลี่ยนแปลงในโลกคอมมิวนิสต์
และผลกระทบต่อไทย. วัชรินทร์ ยงศิริ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : พิมพ์สวย.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2539). สันติทฤษฎี วิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
เดวิด แชนด์เลอร์, ผู้แต่ง. พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์ และวงเดือน
นาราสัจจ์, ผู้แปล. (2543). ประวัติศาสตร์กัมพูชา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2535). อินโดจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ : พี. เพรส.
วิชชุกร ทองหล่อ. (2548). “เพลงสมัยนิยมเขมร : ภาษาและภาพสะท้อนวัฒนธรรม”
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเขมร บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุบล เทศทอง. “โลกทัศน์ต่อชายหญิง : ภาพสะท้อนจากภาษิตเขมร”. ดำรงวิชาการ 4, 2
(กรกฎาคม – ธันวาคม 2548) : หน้า 131-155.
Locard, Henri. (2004). Pol Pot’s Little Red Book The Sayings of Angkar.
Chiang Mai: Silkworm Books.
Vanna, Ly. (2004). The Expeience of the “ New People” during the Khmer
Rouge Regime and Its Effect on their lives in the Present Time. A
Thesis is submitted in partial fullillment of the requirements for the degree of Arts program in Southeast Asian Study Chulalongkorn University.


Shawcross, William. (1979). Sideshow, Kissinger, Nixon and the Destruction
of Cambodia. Great Britain : The Chaucer Press.
Sloper, David. (1999). “Higher Education in Cambodia: An Overview and
Key Issues” In Higher Education in Cambodian: The Social and
Educational Context for Reconstruction, 1-24. Edited by Sloper,
David. Thailand : UNESCO Principal Regional Office for Asia and the
Pacific.