การทำผลงานทางวิชาการโดยหลีกเลี่ยงการลอกเลียนวรรณกรรม

Main Article Content

นนทนันท์ แย้มวงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับความรู้เรื่องการทำผลงานทางวิชาการโดยหลีกเลี่ยงการลอกเลียนวรรณกรรม ปัจจุบันผลงานทางวิชาการทั้งรายงานการวิจัย ตำรา หนังสือของสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งประสบปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism) โดยการนำเนื้อหาสาระในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ คำ ประโยค เนื้อหาทั้งหมด ภาพหรือแผนภูมิต่าง ๆ รวมถึงการแปลจากภาษาต้นฉบับจากผลงานผู้อื่นมาเสนอประหนึ่งว่าเป็นผลงานของตนเองโดยไม่อ้างอิงหรือบอกแหล่งที่มาของข้อมูล การลอกเลียนวรรณกรรมอาจกระทำได้หลายรูปแบบ ส่วนใหญ่มักเป็นการลอกเลียนทั้งหมด (Word-by-word plagiarism) และเป็นการลอกเลียนบางส่วนหรือการถอดความ (Paraphrasing) ที่ทำให้ดูแตกต่างไปจากเดิมจนผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นความคิดของผู้เขียนเองทั้งหมด ซึ่งเสมือนเป็น “การโจรกรรมทางวรรณกรรม” เป็นการบ่งบอกว่าการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นนั้นถือว่าเป็นการขโมยหรือโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ แสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นไม่มีความตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ข้อมูล ความคิด ผลงานของบุคคลอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัญจนา บุญยเกียรติ. (2554). การลักลอกงานวิชาการและวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจริญ ตรีศักดิ์. (2549, มกราคม-เมษายน). การลอกเลียนวรรณกรรม : ความด่างพร้อยทางวิชาการ. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 11(1): 71-78.
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้บุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560.
ประภาส พาวินันท์. (2553, กรกฎาคม-กันยายน). การอ้างอิงในงานวิชาการ (1): การอ้างอิงในเนื้อหา. วารสารรามคำแหง. 27(3): 126-139.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2552). นวัตกรรมการศึกษาชุด KM (Knowledge management) : ภูมิปัญญาสร้างสรรค์การจัดทำนวัตกรรมการศึกษาและการพัฒนาผลงานทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
พิสณุ ฟองศรี. (2551). 87 เคล็ดลับ : เทคนิคการทำผลงานทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: เพชรรุ่งการพิมพ์.
พวา พันธุ์เมฆา; และ พัชรา สุทธิสำแดง. (2548). อัญประภาษ การอ้างอิง และบรรณานุกรม. ใน ทักษะการรู้สารสนเทศ. หน้า 155-182. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิไลวรรณ ศรีสงคราม.(2554). การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบนพื้นฐานผลการวิจัยสำรวจและการวิเคราะห์เอกสาร. วิทยานิพนธ์ ค.ด.(วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ถ่ายเอกสาร.
อัญชลี กล่ำเพ็ชร; และจุฑารัตน์ ปานผดุง. (2553). การอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรมในเอกสารทางวิชาการ. วารสารวิทยบริการ.21(3): 144-156.
Enger, Jennie;&Pull, Mary. (2011). Exposing the “Root” of Plagiarism. Retrieved
January 15, 2018, from http://www.ndsu.edu/fileadmin/cfwriters/ Plagiarism_ article_March2011.docx


Ibe, Bede C. (2011, January). Duplicate and Redundant Publications What
Authors and Editors Need to Know?. Nigeria Journal of
Paediatrics. 38(1): 1-3.
iParadigms Co. (2002). Types of Plagiarism. Retrieved January 15, 2019, from https://turnitin.com/research_site/print.html
Ramzan, Muhammad; et al. (2012, July). Awareness about plagiarism amongst university students in Pakistan. Higher Education. 64(1): 73-84.
Smith, Malcolm., Ghazail, Noorlalia. &Minhad, Siti Fatimah Noor. (2007). Attitudes Towards Plagiarism Among Undergraduate Accounting Students: Malaysian Evidence. Asian Review of Accounting. 15(2): 122-146.
So Sethaputra. (2553). New Model English-Thai Dictionary.Revised Edition. Bangkok: Prima.
Winkler, Anthony C; &McCuen, Jo Ray. (1979). Writing the Research Paper : a Handbook. New York : Harcourt Brace Jovanovich.