แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ 9

Main Article Content

พ.อ.วสันต์ วุฒิวโรดม
พัลยมน สินหนัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของทหารกองประจำการก่อนเข้ารับราชการในกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ 9 2. เพื่อศึกษาปัจจัย/   ความเสี่ยงที่ทำให้ทหารกองประจำการที่ผ่านการฝึกทหารใหม่แล้วกลับมาใช้ยาเสพติด และ          3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในกรมสนับสนุนกองพลทหาร      ราบที่ 9 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์ประมวลผลร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แล้วใช้การพรรณนาความผลการวิเคราะห์ข้อมูล


                        ผลการวิจัยพบว่า


  1. พฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของของทหารกองประจำการก่อนเข้ารับราชการในกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ ๙ พฤติกรรมเคยใช้ยาเสพติดมาจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งด้านปัญหาครอบครัว ครอบครัวแตกแยกหรือไม่ได้อาศัยอยู่กับครอบครัว สาเหตุจากสภาพแวดล้อมรอบตัว แหล่งที่อยู่อาศัยของบุคคล หรือการได้รับความสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน

  2. ปัจจัย/ความเสี่ยงที่ทำให้ทหารกองประจำการที่ผ่านการฝึกทหารใหม่แล้วกลับไปใช้ยาเสพติด ประกอบไปด้วยปัจจัยภายในตัวบุคคล ซึ่งทหารกองประจำการที่เข้ารับการฝึกทหารใหม่ หน่วยฝึกทหารใหม่จะมีการควบคุมความประพฤติตลอด ห้วงระยะเวลา 10 สัปดาห์และเมื่อฝึกจบทหารใหม่จะได้รับการปล่อยกลับไปเยี่ยมญาติ  ซึ่งในห้วงนี้จะมีโอกาสหันกลับใช้ยาเสพติดอีก สาเหตุอาจจะเนื่องจากเกิดความเครียดหรือปัญหาอื่น ๆ หรือการได้กลับมาอยู่กับสภาพแวดล้อมเดิม ๆ

  3. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ 9 เป็นไปตามนโยบายแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย แล้วนำมาพัฒนาสร้างภูมิคุ้มกันให้ห่างไกล ยาเสพติดได้ โดยการสอดส่องดูแลกำลังพลจะทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการฝึกอาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านอาชีพเสริมของกำลังพล กิจกรรมที่แสดงออกถึงความต้องการของกำลังพลในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้บุคคลเกิดภูมิคุ้มกันและมีทักษะชีวิต มีทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมที่ห่างไกลยาเสพติด ดำเนินการประคับประคอง เยี่ยวยาให้ความช่วยเหลือหรือคำปรึกษา การจัดกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ ให้แก่กำลังพลที่อยู่ภายใน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันยาเสพติด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิรณา เครือพงศ์ศักดิ์.(2561).การศึกษาการดำเนินงานตามแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา.วิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันการป้องกันประเทศ.
โครงการป้องกันและปราบปรามสารเสพติด.(2527).การศึกษาสภาพการรู้จักและสภาพการใช้สารเสพติดในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ.รายงานการวิจัย กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ.
ณรงค์ เส็งประชา.(2541).มนุษย์กับสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
เดโช ทิมธรรม.(2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง จังหวัดปทุมธานี.สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานยุติธรรม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นเรนทร์ ตุนทกิจ. การป้องกันยาเสพติดในเยาวชนกลุ่มเสี่ยงนอกสถานศึกษา: กรณีศึกษาโครงการเยาวชนอาสาพลังแผ่นดินตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. (ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีการศึกษา 2557) หน้า 2
ราชบัณฑิตยสถาน.(2546).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542.กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.
สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์หน่วยศึกษานิเทศ กรมการฝึกหัดครู.(2530).การศึกษาสภาพการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา พ.ศ. 2530.รายงานการวิจัย กระทรวงศึกษาธิการ.
สัญญา ขันธนิยม.(2553).มูลเหตุจูงใจในการเสพยาบ้าของผู้เสพยาบ้า : กรณี พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 เรือนจำจังหวัดอยุธยา.สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.(2536).คู่มือการจัดกิจกรรมป้องกันสิ่งเสพติดในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ.สำนักฯ.
ศุกร ชินะเกตุ.(2553).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อาภรณ์ สุขสวัสดิ.(2545).รูปแบบการเสพยาเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในสังกัดกรรมสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย.สารนิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.