ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกบัวของเกษตรกรในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

เกียรติคุณ จินตวร
สมศักดิ์ ตันตาศนี
ประสงค์ อุทัย
สมบัติ ทีฆทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกบัวและเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของเกษตรกรในจังหวัดชลบุรี ระเบียบวิธีการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประชากรโดยใช้เกษตรกรที่ปลูกบัวในอำเภอพนัสนิคม จำนวน 124,125 ราย และเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย วิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวนทางเดียว


          ผลการวิจัยพบว่า


          ในการปลูกบัวนั้นมีต้นทุนรวมเฉลี่ย 8,175 บาทต่อไร่ มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 9,749 บาทต่อไร่ อัตรากำไรสุทธิต่อต้นทุน 1.312 เท่า อัตรากำไรต่อยอดขาย 0.62 เท่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) 0.93 เท่า และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) 3.352 เท่า และมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 38 กำ ต้นทุนการทำนาบัวประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ต้นทุนค่าวัตถุดิบร้อยละ 1.95 ต้นทุนค่าแรงงานร้อยละ 38.03 และต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตร้อยละ 67.07 ผลการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะของประชากรกับการวิเคราะห์การลงทุนและผลตอบแทนในการปลูกบัวของเกษตรกร พบว่ามีความแตกต่างกันในที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ฉวีวรรณ สุดจิต. (2556). การเก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิตผักบุ้งจีนในงานทดลองวิจัยของส่วนการใช้น้ำ
ชลประทาน.วารสารข้าวเกษตรชลประทาน: ปีที่ 17 ฉบับที่ 67 ตุลาคม-ธันวาคม 2556 (หน้า 2-8).
เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2554). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น
จํากัด (มหาชน).
ดุษฎี พรหมทัต. (2559). ต้นทุนผลตอบแทนและวิถีการตลาดผักปลอดภัย: กรณีศึกษาผักบุ้งจีน. งานวิจัย
กองทุนส่งเสริมงานวิจัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา
หันตรา.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018” (หน้า 154-164).
เทศบาลตําบลคลองโยง. (2560). ข้อมูลเทศบาลตําบลคลองโยง อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. สืบค้น
จาก http://www.khlongyong.go.th/about.
ปิยะราช เตชะสืบ. (2557). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนโครงการปลูกผักกุยช่ายปลอดสารพิษเพื่อ
การค้าในจังหวัดลําปาง.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเนชั่น.
พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2559). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน
การปลูกข้าวของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี.รายงานการวิจัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลรัตนโกสินทร์.
ไพบูลย์ สุขเจริญ. (2548). การศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา. เขต 1.
สมเพียร เกษมทรัพย์ และคณะ. (2533). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทํานาบัวตัดดอก.วารสาร
เกษตรศาสตร์ (สังคม): ปีที่ 11 (หน้า 226-31).
อัจฉรา กลี่นจันทร์. (2557). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวอินทรีย์ ในจังหวัดเพชรบูรณ์.
รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
BUIL FREE WEBSITE OF YOUR OWN ON TRIPOD. (2560). ต้นทุนการผลิต.สืบค้นจาก.
http://member-production.tripod.com/Recycled/Dd74/page1_5.html.