ศักยภาพของชุมชนชนบ้านแม่หล่ายเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

Main Article Content

ศิริพร พันธุลี
วัฒนา วณิชชานนท์
จักรกฤช เตโช
สมบัติ กันบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชนแม่หล่าย ดำเนินการในพื้นที่เทศบาลตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) รวม 80 คน ประกอบด้วย แกนนำชุมชนแม่หล่าย ปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้สูงอายุ เยาวชน นักวิชาการท้องถิ่น ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมค้นหาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการพึ่งตนเอง


ผลการวิจัย พบว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีศักยภาพของชุมชนแม่หล่าย มีดังนี้ 1) ศูนย์เรียนรู้ 1 ไร่ 1 แสน  2) ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 3) ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน 4) ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน 5) ศูนย์เรียนรู้ไร่นาสวนผสม 6) ศูนย์เรียนรู้ศิลปะ 7) ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวัดแม่หล่าย 8) ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสาน 9) ศูนย์เรียนรู้สปาเท้า

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมการท่องเที่ยว (2552). คู่มือการประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). คู่มือการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวเกษตร. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.
ดารุณี บุญธรรม.(2546). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมโดยชุมชนชาวม้ง บ้านน้ำคะจังหวัดพะเยา.
สืบค้นจาก www.vijai.org/research/project_content.asp?projID=RDG44N0023 ค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2550.
นำชัย ทนุผล. (2542). การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. เชียงใหม่ : สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว คณะธุรกิจการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2546). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สาน. (2543). นิเวศเศรษฐศาสตร์และนิเวศวิทยาการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2544). ท่องเที่ยวยั่งยืน (ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์) ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ : อนุสาร อสท,
หน้า 118 – 119.
วีระพล ทองมา. (2551). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง การบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวบนวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.
เชียงใหม่ : คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศิริพร พันธุลี. (2552). การศึกษาศักยภาพของชุมชนห้วยหม้ายเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ 1 (4) : 15-29.
ศิริพร พันธุลี และคณะ. (2555). วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชนเผ่ามปีโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม:
กรณีศึกษาบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชนแนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. เชียงใหม่ : วนิดา เพรส (สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานภาค).
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
Fennell, D. A. (1999). Ecotuorism: An Introduction. New York : Routlede.