ชุมชนปุรณาวาส: ภูมิวัฒนธรรมเพื่อการจัดทำฐานข้อมูลท้องถิ่น และแนวทางพัฒนาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

Main Article Content

สำราญ ผลดี
อัรฮาวี เจ๊ะสะแม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) สำรวจลักษณะทางภูมิวัฒนธรรมของชุมชนริมคลองปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 2.) วิเคราะห์ถึงศักยภาพของภูมิวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาสเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และ 3.) วิเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการค้นคว้า รวบรวมจากเอกสารและการศึกษาภาคสนาม ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ การสัมภาษณ์บุคคล เช่น ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้อาวุโส โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนปุรณาวาส เป็นชุมชนเก่าแก่นับร้อยปี ตั้งอยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีลักษณะทางภูมิวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนที่เข้มแข็งจำนวนมาก เช่น ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชน สภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ วิถีวัฒนธรรมชุมชน มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น ภูมิลักษณ์ดังกล่าวคือต้นทุนสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ในอนาคต จากการศึกษาพบว่ารูปแบบที่เหมาะสมสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ 1.) การจัดตั้งเป็นตลาดน้ำโดยใช้มิติของวิถีวัฒนธรรมชุมชนเป็นจุดขาย และ 2.) การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่สามารถใช้วิถีชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์เป็นต้นทุนได้ อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญของการพัฒนาชุมชน     ปุรณาวาสไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้นั้น คือการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง สร้างการรับรู้เรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการสร้างจิตสำนึกร่วมในความเป็นชุมชนให้เกิดขึ้นกับสมาชิกของชุมชน อันถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการนำมาซึ่งความเข้มแข็งของชุมชนได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). ไหว้พระวัดริมคลอง ยลเสน่ห์วิถีชุมชนคุณธรรม...บนเส้นทางบุญ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย)
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2555). แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนในสังคมไทย.กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์บุ๊ค
ณัฐพัชร์ ทองคำ. (2555). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตทวีวัฒนา. ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย สืบค้นจากhttp://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=108&CID=3062
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : เพรส แอนด์ ดีไซน์
พฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์. (7 มกราคม 2560). สัมภาษณ์. ชาวชุมชนปุรณาวาส
พัฒน์ศจกร อรรถาศิลป์. (2552). วิถีชุมชนเลียบคลองมหาสวัสดิ์กับการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, (ม.ป.ป.).คู่มือเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวัดปุรณาวาส (ฉบับปรับปรุง). ตามโครงการวิจัยความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการอุทกภัยกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : ชุมชนเขตทวีวัฒนา.
ราณี อิสิชัยกุล. (2551). “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ทรัพยากรการท่องเที่ยว หน่วยที่ 1. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2557). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.556 – 2575) “มหานครแห่งเอเชีย”. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด
อารีย์ แก้วดี. (21 ธันวาคม 2559). สัมภาษณ์. ประธานชุมชนปุรณาวาส