อิทธิพลของย่านาคที่ส่งผลต่อความเชื่อของคนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเชื่อเรื่องแม่นาคเป็นหนึ่งในความเชื่อที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานาน เป็นเรื่องราวของผีผู้หญิงคนหนึ่งที่หวงสามี ปรากฏมานานนับร้อยปี เล่าต่อกันมาด้วยปากต่อปากหรือมุขปาฐะ ความเชื่อเรื่องแม่นาคพระโขนงยังปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ปัจจุบันนี้ มีศาลแม่นาคตั้งอยู่ ณ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่สักการะ เคารพบูชาอย่างมากของบุคคลในและนอกพื้นที่ โดยบุคคลเหล่านี้จะเรียกแม่นาคด้วยความเคารพว่า “ย่านาค” อิทธิพลของย่านาคที่ส่งผลต่อความเชื่อของคนไทย พบว่ามี ดังนี้ 1.อิทธิพลต่อความเชื่อเกี่ยวกับย่านาคเรื่องความรัก ศาลย่านาคเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่เป็นอมตะ แต่เมื่อขอพรแล้วความศักดิ์สิทธิ์บังเกิดสมดังใจหวัง สิ่งหนึ่งที่คู่รักต้องมีคือ "ความซื่อสัตย์" 2. อิทธิพลต่อความเชื่อเกี่ยวกับย่านาคเรื่องการเกณฑ์ทหารของชายไทยในช่วงจับใบดำใบแดงในการเข้าเป็นทหารกองประจำการถ้ามีชายไทยคนไหนที่ไม่อยากติดทหาร เพราะเชื่อว่าท่านไม่ชอบการเป็นทหาร เพราะทหารทำให้ท่านกับสามีต้องพรากจากกัน และ 3.อิทธิพลต่อความเชื่อเกี่ยวกับย่านาคเรื่องโชคลาภ ส่วนมากผู้คนมักมาขอให้ถูกหวย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคลแต่หลายคนที่แวะเวียนมากราบไว้ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและขอพรเพื่อให้ตนเองมีความสบายใจมากขึ้น
Article Details
References
ธวัช ปุณโณทก. (2528). ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในสังคมอีสาน. กรุงเทพฯ: ศิลปะบรรณาคาร.
ประคอง นิมมานเหมินทร์. 2545. นิทานพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประชิด สกุณะพัฒน์.(2546). วัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณีไทย. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.
ประมวญ ดิคคินสัน.(2522). คติชาวบ้านการศึกษาในด้านมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยาอินเตอร์เนชั่นแนล.
พรศักดิ์ พรหมแก้ว.(2544).ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือผีกับบทบาททางสังคมของชาวไทยที่นับ ถือศาสนาพุทธในภาคใต้.กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
มัลลิกา คณานุรักษ์. (2550). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อเนก นาวิกมูล. (2543 ). เปิดตำนานแม่นาคพระโขนง. กรุงเทพฯ: โนรา.
อรอินทร์. (2553). นิทานพื้นบ้านไทยฉบับตำนานถิ่นไทย.กรุงเทพฯ:ไพลิน.
พาณี ศรีวิภาต. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องนางนาคพระโขนง. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.