การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิชาการแก่นักศึกษาในหมู่เรียน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

ชนม์ณภัทร เจริญราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิผลของการให้คำปรึกษา 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิชาการและ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิชาการแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ  คือ ตัวแทนนักศึกษารหัส 55 -58  หมู่เรียนละ 1 คน จำนวน 348 คน สถิตที่ใช้ คือ ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร  อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปประเด็นการศึกษาและตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาโดยวิธีการแบบสามเส้า


            ผลการวิจัยพบว่า


  • ระดับประสิทธิผลการให้คำปรึกษาวิชาการ คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม การเข้าร่วมกิจกรรมของ

นักศึกษา  การให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรและการลงทะเบียน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.72)


  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา คือ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องมีความ

ประพฤติที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีงาม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย  = 3.87) 


3)  แนวทางการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิชาการแก่นักศึกษา มีดังนี้ (1) ควรมีการจัดทำคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาและปรับปรุงคู่มือให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน  จัดสรรงบประมาณในการจัดประชุมและอบรม รวมถึงการประกาศให้ใช้ในการประเมินความดีความชอบ (2) บุคลากร ควรมีความรู้ในกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ สามารถแนะนำนักศึกษาได้อย่างถูกต้อง  และอาจารย์ที่ปรึกษาควรมีความประพฤติที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีงาม (3) ควรมีคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา และสมุดบันทึกการให้คำปรึกษา หรือให้ข้อมูลที่จำเป็นผ่านเว็บไซต์ (4) ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ  ในเว็บไซต์ ระบบ Wi Fi เข้าถึงได้ทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย (5) ควรมีงบประมาณทางด้านการปรับปรุงระบบ  การอบรมให้ความรู้  และการจัดศูนย์การให้คำปรึกษาเฉพาะด้านวิชาการโดยกำหนดช่วงระยะเวลาที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2556). คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน.
เรียม ศรีทอง. (2540). งานอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันอุดมศึกษา . กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547) ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์.
สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2543). ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา. กรุงเทพมหานคร : ส่วนวิจัยและพัฒนาสำนักมาตรฐาน
อุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักส่งเสริมและพัฒนศักยภาพนักศึกษา. (2554). คู่มือการใช้ระบบการ
ให้คำปรึกษาวิชาการระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร :
สหมิตรพริ้มติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
หฤทัย ศิริสินอุดมกิจ. (2544). การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร และการจัดการสังคม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Abouchedid, K & Nasser, R. (2008). Assuring quality service in higher education: registration and advising attitudes in a private university in Lebanon. Quality Assurance in Education,
10(4), 198-206.
Dillon and Fisher. (2000). Faculty as part of the advising equation: An inquiry into faculty viewpoint on advising. NACADA Journal, 20(1), 16-22.