บทบาทผู้นำสตรีทางจิตวิญญาณในการพัฒนาชุมชนกะเหรี่ยงบ้านกล้วย ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของผู้นำสตรีทางจิตวิญญาณในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านกล้วย 2) ข้อจำกัดของผู้นำสตรีทางจิตวิญญาณในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านกล้วย และ3) แนวทางการส่งเสริมผู้นำสตรีทางจิตวิญญาณจากภาครัฐเพื่อพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านกล้วย อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 ราย คือตัวแทนกลุ่มชุมชน จำนวน 12 ราย และตัวแทนกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 4 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบเนื้อหาโดยวิธีการ แบบสามเส้าผลการวิจัย พบว่า1) บทบาทของผู้นำสตรีทางจิตวิญญาณในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านกล้วย ได้แก่ 1) บทบาทผู้นำทางการพัฒนาด้านสังคม ประกอบด้วย 3 บทบาทย่อย คือ บทบาทผู้เชื่อมโยงระหว่างโลกวิญญาณกับโลกมนุษย์ บทบาทผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรม โดยผ่าน 3 กิจกรรมหลักของประเพณีชาวกะเหรี่ยงที่สำคัญ คือ กิจกรรมการไหว้เจดีย์จุฬามณี ในวันเพ็ญเดือนห้า กิจกรรม ผูกแขนด้วยด้ายเหลือง และกิจกรรมประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ทุกกิจกรรมจะต้องมีผู้นำสวดหรือผู้นำในการทำบุญ คือ เจ้าวัด เพื่อสื่อถึงเทวดา และบรรพบุรุษให้รับรู้ โดยเจ้าวัดต้องมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและความสามารถในด้านความเชื่อและพิธีกรรม และบทบาทการรักษาโรค 2) บทบาทผู้นำทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ 3) บทบาทผู้นำทางการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม 2) ข้อจำกัดของผู้นำทางจิตวิญญาณในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านกล้วย ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับเพศของผู้นำ การสื่อสารภาษาไทย และความรู้ในการส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ 3) แนวทางการส่งเสริมของภาครัฐในผู้นำทางจิตวิญญาณเพื่อพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านกล้วย คือควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมตามข้อเสนอของเจ้าวัด ควรแต่งตั้งเจ้าวัดเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาตำบล ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว ควรจัดรวบรวมประวัติและผลงานเจ้าวัดเผยแพร่ และ ควรสนับสนุนล่ามภาษาไทย
Article Details
References
ทองใบ สุดชารี. (2549). ภาวะผู้นำ : กลไกขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้ พิมพ์ครั้งที่ 2 อุบลราชธานี : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ประเวศ วะสี. (2553). สุขภาพในมิติทางจิตวิญญาณหรือปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต.
มณฑล สรไกรกิติกุล และสุนันทา เสียงไทย. (2556) มิติทางจิตวิตวิญญาณในการทำงาน (Workplace Spirituality) : ความท้าทายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฉบับที่ 32 มกราคม-มิถุนายน 2556
ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์, โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคต ชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ https:www.gotoknow.org
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
สรินทร์รัตน์ มุสิการยกูล. (2548). ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 งานนิพนธ์ (กศ.ม.) มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุเทพ พงศ์ศรีวัตน์. (2548). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ : ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.
เสรี หอมเกสร. (2535). บทบาทของผู้ใหญ่บ้านหญิง ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ใหญ่บ้านชายในเขตพื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์.หนังสือศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า-ประเทศไทย RECOFTC
Avery and Ellen Baker. (1990). Psychology at work. New York. Sydney: Prentice Hall อ้างถึงใน นภวรรณ คณานุรักษ์. (2544). บทบาทผู้นำองค์กรที่มีพนักงานวิชาชีพ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Byars and Rue. (1999).Motivating Today’s Employee, Supervision Key Linkto Productivity, 6thed., The McGraw-Hill Companies, Inc., USA, pp. 271-285. อ้างถึงใน ณัฐพฤทธิ์ ศรีภักดี. (2552). ความสัมพันธระหวางภาวะผูนําของหัวหนางาน ความรูในงานที่ทําและบรรยากาศองคกร ตอความผูกพันองคกรของพนักงานในอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกสในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลําพูน: การศึกษาคนควา ดวยตัวเอง บธ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม, เชียงใหม.
Gibson, Ivancevich, and Donneiiy. (1997). Organizations,Behavior Structure Processes. Internation Edition, United States of America : Irwin McGeaw-Hill, อ้างถึงใน มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด